วารสารวิชาการวิถีสังคมมนุษย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh <p>วารสารวิถีสังคมมนุษย์ มีนโยบายในการส่งเสริม เผยแพร่ เชื่อมโยง และกระตุ้นการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาวิชาการด้านมนุษยศาสตร์<br>และสังคมศาสตร์ โดยรูปแบบผลงานที่วารสารจะรับพิจารณา มี 3 ประเภท คือ บทความวิชาการ บทความวิจัยและบทวิจารณ์หนังสือ บทความวิชาการและบทความวิจัยที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารวิถีสังคมมนุษย์&nbsp;นี้จะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ ( Peer Review) ก่อน เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล และนำไปอ้างอิงได้ ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์</p> <p>&nbsp;</p> th-TH บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิถีสังคมมนุษย์ เป้นลิขสิทธิ์ของวารสารวิถีสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ทั้งบทความในวารสารฉบับตีพิมพ์ ฉบับออนไลน์หรืออื่น ๆ และวารสารวิถีสังคมมนุษย์สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในรูปแบบอื่นใด โดยไม่ต้องแจ้งผู้เขียนทราบ [email protected] (กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ (Kittanut Yanpisit)) [email protected] (กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ (Kittanut Yanpisit)) Fri, 25 Dec 2020 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในงานพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา: ผู้นำชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/214358 <p>การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายของธรรมาภิบาลในทัศนะของผู้นำชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ...2) ศึกษาแนวทางการสร้างธรรมาภิบาลในงานพัฒนาชุมชน ของผู้นำชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ..3) ศึกษาวิธีการนำหลักธรรมา ภิบาลไปใช้ในงานพัฒนาชุมชน ของผู้นำชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 100 ราย สนทนากลุ่ม 11 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักตรรกะเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีควบคู่กับบริบท และใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ความหมายธรรมาภิบาลในทัศนะของผู้นำชุมชน สามารถแบ่งความหมายออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) ลักษณะแนวทางการบริหาร/การปกครอง &nbsp;2) ลักษณะการกำกับติดตามดูแล และ &nbsp;3) ลักษณะพื้นฐานของบุคคลที่โดดเด่น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แนวทางในการสร้างธรรมาภิบาลในงานพัฒนาชุมชน ได้แก่ การสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมและการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การสร้างวินัยในตัวเอง การสร้างคุณธรรม ในตัวของผู้นำชุมชน บุคลากร และเจ้าหน้าที่ การสร้างจิตสำนึกในตนเอง การฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาคน การรักษาศีล 5 มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ การสร้างความร่วมมือทุกคนทุกภาคส่วนในการทำงาน การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างการมีส่วนร่วม</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในงานพัฒนาชุมชน ได้แก่ 1) หน่วยงานต้องมุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการองค์กร ให้เกิดผลประโยชน์แก่ประชาชนเป็นสำคัญ 2) หน่วยงานหรือองค์กร ควรออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ สร้างค่านิยม วัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจน&nbsp; 3) หน่วยงานหรือองค์กร ควรจัดทำคู่มือการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม&nbsp; 4) หน่วยงานหรือองค์กร ควรจัดทำผังหรือแผนขั้นตอนการปฏิบัติงาน (5) หน่วยงานหรือองค์กร ควรดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพื่อบรรจุ แผนงาน 6) ควรจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาศีล 5 ตัวอย่างเช่น การลดละ อบายมุข ช่วงเข้าพรรษา 7) การดำเนินการต่าง ๆ ประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงสิ้นสุดโครงการ 8) หน่วยงานหรือองค์กร ควรมีกิจกรรมหรือให้บุคลากร ได้ทำกิจกรรมหรือทำงานร่วมกันอยู่เสมอ 9) หน่วยงานหรือองค์กร ควรออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกำหนดให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และ10) หน่วยงานหรือองค์กรควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด &nbsp;</p> เสถียร Sathian สีชื่น Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการวิถีสังคมมนุษย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/214358 Fri, 25 Dec 2020 00:00:00 +0700 มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร์ใบลาน : กรณีศึกษาวัดศรีชมชื่น ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/224901 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านพิมาน ตำบลพิมาน อำเภอ นาแก จังหวัดนครพนม และ 2. เพื่อศึกษามิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร์ใบลานของวัดศรีชมชื่น ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านพิมานมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เรียกตนเองว่า ผู้ไทกะเลิง หมายถึง มีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทและกะเลิงอาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชน ยุคแรกของการตั้งหมู่บ้าน เป็นกลุ่มข้าโอกาสพระธาตุพนม มีหน้าที่เสียค่าหัวและไปสร้างที่พักสำหรับผู้เดินทางมาแสวงบุญเป็นประจำทุกปี &nbsp;พ.ศ. 2450 &nbsp;ตั้งอำเภอหนองสูงบริเวณบ้านนาแก และแต่งตั้งหลวงศรีพฤษผลเป็นกำนันคนแรกของตำบลพิมาน ในช่วงเหตุการณ์ไม่สงบ ชาวบ้านพิมานมีการจัดตั้งเวรยามร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนถึง พ.ศ. 2529 สถานการณ์ได้คลี่คลาย ชาวบ้านพิมานดำรงชีวิตโดยอาศัยธรรมชาติ การทำนาที่นิยมคือทำนาสักเป็นลักษณะการทำนาหยอดหลุม โดยดำเนินการหยอดเมล็ดข้าว ในเดือนสี่ เมื่อถึงฤดูทำนา ชาวบ้านพิมานจะประสบภัยน้ำท่วม ต้นข้าวในนาสักโตเต็มที่แข็งแรง ทนต่อน้ำท่วม ชาวบ้านพิมานมีอาชีพปั้นไห เรียกว่า ไหพิมาน เกิดการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เกลือ ข้าว ปลา ในชุมชนลุ่มน้ำก่ำ</p> <p>คัมภีร์ใบลานที่พบ มีใบลานยาว และใบลานสั้น จำนวน 116 มัด 1,100 ผูก มีอักษรธรรมอีสาน อักษรไทยน้อย และอักษรขอม พบมากที่สุดคือ อภิธรรม ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นยอดธรรมของพระพุทธเจ้า จึงเป็นที่นิยมในการสร้างมากที่สุด คัมภีร์ใบลานที่ยังสืบเนื่องถึงปัจจุบัน คือ พระเจ้าแทนน้ำนมแม่ ชาวบ้านยังใช้ประกอบในกองบุญอุทิศให้แก่พ่อแม่ที่เสียชีวิตแต่เปลี่ยนเป็นกระดาษยาวและพิมพ์ด้วยอักษรไทยปัจจุบัน อายุของคัมภีร์ใบลาน ที่เก่าที่สุดคือ สังฮอมธาตุ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2304 ผู้เขียน ส่วนมากคือ พระอาจารย์อุปคุตเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีชมชื่นมีชื่อเสียงด้านการเทศน์พระเวสสันดรเป็นที่รู้จักของคนในลุ่มน้ำก่ำเป็นอย่างดี เจ้าลาน คือ ผู้ที่ซื้อใบลานมาให้ผู้เขียนและได้รับอานิสงส์เท่ากัน คำปรารถนา เพื่อให้ได้รับอานิสงส์ตามความตั้งใจ เช่น ปรารถนาไปเถิงสุข ขอให้บุญกุศลไปถึงผู้ล่วงลับ ขอให้มีข้าวของเงินทอง&nbsp; พ.ศ. 2488 เกิดโรคผีดาษในชุมชนทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนคัมภีร์ใบลานได้มีคำปรารถนาอานิสงส์ให้ผิวพรรณผ่องใส หายจากความเจ็บป่วย</p> Athirach2524 Nankhantee Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการวิถีสังคมมนุษย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/224901 Fri, 25 Dec 2020 00:00:00 +0700 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ศึกษากรณีการหักลดหย่อน ภาษีของสามีและภรรยา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/234239 <p>วิทยานิพนธ์เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา&nbsp; ศึกษากรณีการหักลดหย่อนภาษีของสามีและภรรยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย เรื่อง 1) ความเหมาะสมของการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ของ&nbsp; บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร&nbsp; เฉพาะเรื่องค่าลดหย่อนภาษีเงินได้สามีและภรรยา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและช่องว่างทางกฎหมายเกี่ยวกับการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ของสามีและภรรยา และ 3)&nbsp;&nbsp; เสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภริยา&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ&nbsp; โดยทำการศึกษาจากกฎหมายรัษฎากรไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง&nbsp; คำสั่ง&nbsp; ระเบียบ&nbsp; แนวปฏิบัติ&nbsp; คำพิพากษาของศาล&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตำราทางกฎหมาย รวมถึงการวิเคราะห์เอกสารและงานวิทยานิพนธ์ต่างๆ&nbsp; ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการปรับปรุงการลดหย่อนภาษีเงินได้ของสามีและภรรยา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและหลักการของกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการหักค่าลดหย่อนภาษีของสามีและภริยา 2)เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยและมาตรการของต่างประเทศ 3)เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและช่องว่างทางกฎหมายเกี่ยวกับการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ของสามีและภรรยา 4)เสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภริยา &nbsp;&nbsp;การหักค่าลดหย่อนภาษีดังกล่าวข้างต้นนั้นไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน&nbsp; เนื่องจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น&nbsp; อันมีผลต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น&nbsp;&nbsp; ภาระค่าใช้จ่ายบุตรและภาระในการดูแลคนภายในครอบครัวมีความจำเป็นมากขึ้นตามไปด้วย&nbsp; ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละครอบครัวและเป็นสภาวะจำยอมของสามีและภรรยาที่ต้องใช้จ่าย&nbsp;&nbsp; ดังนั้นเพื่อบรรเทาภาระในการชำระภาษีดังกล่าวรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานต่างๆ &nbsp;ควรเพิ่มการลดหย่อนภาษีให้ทั้งฝ่ายสามีและภรรยาตามมาตรา 47&nbsp; แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรให้มากขึ้น&nbsp; ด้วยเหตุนี้จึงเสนอแนวคิดในการปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายเรื่องการหักค่าลดหย่อนภาษีข้างต้น&nbsp; เนื่องจากการหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้นยังไม่เป็นธรรมและเอื้ออำนวยครอบครัวส่วนใหญ่ในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน&nbsp;&nbsp; การเพิ่มค่าลดหย่อนให้มากขึ้นกว่าเดิมนั้นเป็นมาตรการที่สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่รายจ่ายในการดูแลครอบครัวสูงขึ้น&nbsp;&nbsp; นอกจากจะเป็นการบรรเทาภาษีของสามีและภรรยาแล้วนั้น&nbsp; ยังสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและครอบครัวได้อีกด้วย&nbsp; การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา&nbsp;&nbsp; รวมทั้งภาษีเงินได้ของสามีภรรยา&nbsp; จะนำไปสู่ความมั่นคงของสถาบันครอบครัว&nbsp; อันเป็นสถาบันขั้นต้นในสังคม ที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคต&nbsp;&nbsp;</p> งามพรต พรหมมานต Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการวิถีสังคมมนุษย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/234239 Fri, 25 Dec 2020 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบพฤติกรรมการมารับวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบชุดของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าหลังจากการได้รับความรู้ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/232226 <p>การวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบพฤติกรรมการมารับวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบชุดหลังการให้ความรู้ในผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าพ.ศ. 2560การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมารับวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบชุดหลังได้รับความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น &nbsp;(pre - experiment)กลุ่มตัวอย่างคือ คือผู้ที่สัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้วแพทย์พิจารณาให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ห้องอุบัติเหตุ –&nbsp; ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองบุญมาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมาทุกรายโดยพิจารณาจากมีอายุ 15 ปีขึ้นไป กรณีผู้ที่สัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า อายุน้อยกว่า 15 ปี ซักถามผู้ปกครองแทนและยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ทัศนคติในการไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าและการมารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค ด้านความรู้ เท่ากับ&nbsp; 0.738 และด้านเจคติ เท่ากับ 0.603เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม 2560 – 15 เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานได้แก่ Paired samples t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่าด้านความรู้กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยหลังให้ความรู้เท่ากับ 8.94&nbsp; ด้านทัศนคติมีคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติหลังการสอนเท่ากับ 29.80 ด้านการปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยหลังการสอนเท่ากับ 28.34&nbsp; เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่าความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ หลังการสอนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการค้นพบดังกล่าวแสดงว่าควรมีการสอนผู้สัมผัสเชื้อพิษสุนัขสุนัขบ้าโดยเน้นเรื่องสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าได้ การมารับวัคซีนตามนัดและการประชาสัมพันธ์เรื่องการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า</p> suchada surangkul, ดารุณี บุญเต็ม Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการวิถีสังคมมนุษย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/232226 Fri, 25 Dec 2020 00:00:00 +0700