https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/issue/feed
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
2024-12-20T10:31:26+07:00
วัรดา บินตุซัยด์ เส็มไข่
ejournal@yru.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นเอกสารวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในลักษณะของบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ (การเงิน การบัญชี การจัดการ โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว) ศึกษาศาสตร์ (การวัดและประเมินผล บริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน วิจัยทางการศึกษา) วิจัยทางด้านสังคม และพัฒนาชุมชน <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน</strong><strong> 2 หรือ 3 คน </strong><em>(ขึ้นกับความประสงค์ของผู้นิพนธ์) </em>โดย<strong>ประเมินแบบ Double-Blinded review</strong> เผยแพร่แบบออนไลน์ (ISSN: 2985-1424 (Online)) ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม) </p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/272202
การศึกษาตัวแปรด้านจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
2024-05-07T15:36:02+07:00
วัชราภรณ์ เรืองสิทธิ์
watcharaporn.rua@gmail.com
ศิริพร เกตุสระน้อย
Sirigamemay3@gmail.com
<p>สถาบันผลิตครูควรพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีสมรรถนะการวิจัย เนื่องจากยังขาดความรู้ ทักษะ เจตคติต่อการทำวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรด้านจิตลักษณะและสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านจิตลักษณะกับสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู 3) สร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 245 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตลักษณะ และแบบประเมินสมรรถนะการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาวิชาชีพครูมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง การกำกับตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความวิตกกังวลภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับสมรรถนะการวิจัยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การกำกับตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสมรรถนะการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การกำกับตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองสามารถพยากรณ์สมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมกับพยากรณ์สมรรถนะการวิจัยได้ร้อยละ 53.50 โดยเขียนสมการดังนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y = 0.954 + 0.768 X<sub>ACH</sub> + 0.523 X<sub>REG</sub> + 0.344 X<sub>EST</sub> สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.743 Z<sub>ACH</sub> + 0.506 Z<sub>REG </sub> + 0.299 Z<sub>EST </sub> ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนานักศึกษาครูต่อไป</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/271826
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครใช้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพมหานคร
2024-04-09T17:33:02+07:00
ดนุสรณ์ ประสาทพันธ์
64605044@kmitl.ac.th
สิทธิชัย เจริญเศรษฐศิลป์
sittichai.ch@kmitl.ac.th
<p>วิดีโอสตรีมมิ่งเป็นสื่อบันเทิงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน หากผู้เกี่ยวข้องเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจะทำให้มีข้อมูลพัฒนา ปรับปรุง หรือเลือกใช้บริการได้อย่างเหมาะสม และมีความสามารถในการแข่งขัน การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งและวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจของผู้ใช้งานที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2566 จำนวน 443 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดสำรวจรายการและแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบครัสคาล-วิลลิส การทดสอบฟริดแมน การวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงซ้อนผลวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งมีความแตกต่างกันตามปัจจัยลักษณะบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้และรายจ่าย และตามลักษณะการใช้งาน และตามส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยอย่างน้อย ตัวแปรย่อยของปัจจัยดังกล่าว 1 คู่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยให้ความสำคัญในด้านแพลตฟอร์มมากที่สุด</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/271839
การผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมการตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าในตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2024-07-03T09:30:36+07:00
หฤชัย ยิ่งประทานพร
haruchai1976@gmail.com
ประภัสสร วงษ์ดี
prapassorn.won@kmutt.ac.th
นรินรัตน์ บุญครอง
narin.boonkrong@gmail.com
หทัยชนก อภัยยุทธพงศ์
fourhathaichanok@gmail.com
จารุวรรณ เหมหอมวงค์
saipanjk24515@gmail.com
<p>การตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าในตนเองมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น หากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมการตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าในตนเองสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) ประเมินคุณภาพของภาพยนตร์สั้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพยนตร์สั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้วยวิธีการเลือกแบบบังเอิญ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมการตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าในตนเอง 2) แบบประเมินคุณภาพของภาพยนตร์สั้น และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพยนตร์สั้น สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมการตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าในตนเองที่สร้างขึ้นความยาว 32 นาที มีลักษณะที่ดีคือ มีความกระชับเข้าใจง่าย ทันสมัย น่าสนใจ ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.53, S.D. = 0.50) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.58, S.D. = 0.55) แสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมการตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าในตนเอง มีประโยชน์และตัดสินใจเลือกแนวทางในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง เกิดการลองผิดลองถูก และกระตุ้นให้ผู้ชมได้ตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าในตนเองเพิ่มมากขึ้น</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/272260
Group Communication and Teamwork Factors: An Observational Study Using the “Pandemic” Cooperative Board Game
2024-07-17T09:29:43+07:00
Prae Pathanasethpong
praepa08@gmail.com
Pornthip Sampattavanija
pornthipsam@gmail.com
<p>This study aims to examine how group communication and teamwork can be enhanced through cooperative board game play. The researcher observed three groups, each with four players, as they worked together to win the Pandemic board game. The results were analyzed based on relevant principles and theories. Despite adopting different playing styles, the study showed that all three groups were able to win the game and engaged in communication that enhanced task management, such as brainstorming and decision-making, and supplementary communication-such as creating a fun and relaxed atmosphere. The research then analyzed the success of teamwork and found that different group communication influenced on learning factor and goal-achievement factor, which contributed to the development of teamwork during board game play. This research contributes to understanding how cooperative board games can promote teamwork in organizations. It also highlights potential strategies for enhancing teamwork practices and group communication in small-team settings.</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/273171
สมรรถนะการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมสู่การขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดชายแดนใต้
2024-07-04T09:58:42+07:00
รูดียะห์ หะ
rudiyah.h@psu.ac.th
นิเลาะ แวอุเซ็ง
niloh.w@psu.ac.th
อับดุลฮากัม เฮ็งปิยา
abdulhakam.h@psu.ac.th
<p>สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะทางจริยธรรมและมีความตระหนักต่อปัญหาจริยธรรมในสังคม โดยเฉพาะผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาที่ถือเป็นปัญญาชนของพื้นที่ ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาโดยใช้กลไกของการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมสู่การขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมของนักศึกษาปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ประกอบด้วย อาจารย์ มหาวิทยาลัย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กิจการนักศึกษา นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยา และนักวิชาการศาสนา ใช้วิธีการคัดเลือกแบบลูกโซ่ตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลโดยวิธีการสามเส้า นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษามี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 รอบรู้แก่นจริยธรรมและประเด็นทางสังคม ครอบคลุมทั้งหลักจริยธรรมสากลและหลักจริยธรรมตามคำสอนศาสนาต่าง ๆ องค์ประกอบที่ 2 ความเป็นกลางต่อเพื่อนมนุษย์ แสดงออกอย่างเป็นกลาง รู้ทันความอคติ และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น องค์ประกอบที่ 3 การคิดเชื่อมโยงเป็นระบบโดยใช้หลักตรรกะ สามารถใช้เหตุผลอธิบายอย่างเป็นระบบและใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองข้อเท็จจริงจากหลากหลายแง่มุม และองค์ประกอบที่ 4 การสื่อสารจริยธรรมอย่างสร้างสรรค์ รอบคอบ และสอดคล้องกับผู้รับสาร โดยข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการและสังคม สามารถนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปพัฒนาเป็นหลักสูตรและกิจกรรมบ่มเพาะจริยธรรมของผู้เรียน ตลอดจนพัฒนาเป็นกลไกการขับเคลื่อนคุณธรรมในสถาบันอุดมศึกษาให้มีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/272354
การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของโซ่อุปทานความเย็นด้วยเทคนิคการจำลองสถานการณ์ : กรณีศึกษาศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สด
2024-05-07T09:32:01+07:00
ศรัณยู กาญจนสุวรรณ
sarunyoo.k@psu.ac.th
<p>ปัญหาการจัดการกระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสมของศูนย์กระจายสินค้าผลไม้สดส่งผลให้คุณภาพของผลไม้สดลดลง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์แบบไม่ต่อเนื่องด้วยโปรแกรม FlexSim มาประยุกต์ใช้ในศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สดกรณีศึกษา และเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สดที่ใช้เป็นกรณีศึกษาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการโซ่อุปทานเย็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติการของศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สดที่ใช้เป็นกรณีศึกษา จำนวน 2 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์กระบวนการทำงานศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สดที่ใช้เป็นกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สดที่ใช้เป็นกรณีศึกษา หลังจากนั้นผู้วิจัยใช้โปรแกรม Expert Fit วิเคราะห์ข้อมูลนำเข้าเพื่อทำการจำลองสถานการณ์โดยใช้โปรแกรม FlexSim และทำการทดสอบทีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อเป็นการตรวจสอบถามถูกต้องของแบบจำลองสถานการณ์ ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสถานการณ์ของศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สดที่ใช้เป็นกรณีศึกษาที่สร้างขึ้นสามารถใช้เป็นตัวแทนการปฏิบัติงานจริงได้ และกระบวนการทำงานเดิมควรมีการปรับปรุงให้มีการควบคุมอุณหภูมิอย่างเหมาะสม ลดระยะเวลาการดำเนินงานให้สั้นที่สุดโดยการสลับปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานที่สามารถทำได้ ซึ่งผลที่ได้จากการจำลองสถานการณ์พบว่า การปรับปรุงกระบวนการทำงานของศูนย์กระจายสินค้าลิ้นจี่สดที่ใช้เป็นกรณีศึกษาสามารถลดระยะเวลาการทำงานทั้งหมดลงได้ 5,926.11 วินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 63.94 อีกทั้งยังสามารถลดค่าจ้างลงได้</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/273431
การบูรณาการกระบวนการ CPA และโปรแกรมแมทติกอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2024-07-17T10:14:30+07:00
ฐิตารีย์ สำรี
meuanphun17@gmail.com
จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม
chakkridk@nu.ac.th
<p>ทักษะและกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนา ผู้วิจัยจึงมุ่งหาวิธีพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะดังกล่าว โดยการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบูรณาการกระบวนการ CPA และโปรแกรมแมทติกอน และ 2) ศึกษาผลการบูรณาการกระบวนการ CPA และโปรแกรมแมทติกอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุโขทัยที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านแหล่งข้อมูล และการวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบูรณาการ CPA และโปรแกรมแมทติกอนเริ่มต้นด้วยการใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แล้วเปลี่ยนไปเป็นภาพเพื่อช่วยให้ได้แสดงแนวคิด จากนั้นจึงพัฒนาไปสู่การนำเสนอแนวคิดเชิงนามธรรม โดยมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างการเชื่อมโยง และการใช้เทคโนโลยี 2) ผลการบูรณาการ CPA และโปรแกรมแมทติกอนพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับดี โดยด้านความสามารถด้านการทำความเข้าใจปัญหามีระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินการแก้ปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหาและการตรวจสอบคำตอบ ตามลำดับ</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/273334
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริง เรื่อง แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2024-07-11T14:03:32+07:00
ฮัฟซะห์ สะดียามู
736504020@yru.ac.th
มูนีเร๊าะ ผดุง
muneeroh.p@yru.ac.th
รูฮัยซา ดือราแม
ruhaisa.d@yru.ac.th
<p>ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญมากในศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นต้องหาวิธีการพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน การวิจัยนี้จึงมุ่ง 1) พัฒนาและทดสอประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังเรียน และระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 29 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบสอบถามเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละเทียบกับเกณฑ์ประสิทธิภาพ (กระบวนการ/ผลผลิต) ร้อยละ 70/70 การทดสอบที ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 74.07/74.83 2) นักเรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.60) ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นดังกล่าวสามารถใช้ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างดี</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/273982
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ร่วมกับไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่อง ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2024-08-09T14:03:47+07:00
ตอยีบ๊ะ กาโฮง
736504006@yru.ac.th
โรสลีนา อนันตนุกูลวงศ์
roseleena.y@yru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับไมโครเลิร์นนิ่ง 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจ สำหรับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับไมโครเลิร์นนิ่ง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> 2) สถิติเชิงอนุมาน และ 3) สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม มีค่าเท่ากับ 72.08/74.77 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความพึงพอใจหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.36, S.D. = 0.26) แสดงว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับไมโครเลิร์นนิ่งนี้สามารถใช้พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้เรื่องที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้นและเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/272947
ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม : ว่าด้วยทุนความรู้ วิธีจัดการเรียนรู้ และอัตมโนทัศน์ของครูนาฏศิลป์
2024-06-24T11:42:45+07:00
จิระเดช นุกูลโรจน์
jiranukun2532@gmail.com
<p>ครูนาฏศิลป์กับบทบาทนักปฏิบัติการสอนทางด้านวัฒนธรรมสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสาระสำคัญคือ การพัฒนาให้ครูก้าวข้ามแนวคิดและวิธีจัดการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม ๆ ที่ยึดโยงตัวเองเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ไปสู่แนวทางการทำงานร่วมกับผู้เรียนอย่างเข้าอกเข้าใจและเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามครูนาฏศิลป์จึงต้องมั่นใจว่ามีทั้งชุดความรู้ ทักษะ และเจตคติที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาสำหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรม แนวทางดำเนินการจึงต้องพิจารณามุมมองสำคัญ 3 ประการ ประกอบด้วย 1. ทุนความรู้ทางวัฒนธรรม เป็นความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเอง วัฒนธรรมของผู้เรียน และวัฒนธรรมเชิงพื้นที่สถานศึกษา 2. การให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ ได้แก่ 2.1 การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมเป็นการขยับขยายหุ้นส่วนการเรียนรู้ไปยังผู้ปกครอง ครู และชุมชนให้มีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสมดุล อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาสาระ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลอย่างอิสระตามที่ต้องการ 2.2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกในชั้นเรียน เป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในกลุ่มโดยที่ครูเป็นผู้ประคับประคองให้ผู้เรียนเกิดทักษะเฉพาะวิชาและทักษะสังคมข้ามวัฒนธรรมควบคู่กันไป และ 2.3 การบูรณาการเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ในมิติการเพิ่มเติมเนื้อหาที่เกาะเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้เรียนโดยตรง การลดทอนเนื้อหา สื่อและวาทกรรมที่กดทับวัฒนธรรมรอง การเพิ่มรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมเล็ก ๆ ในพื้นที่โรงเรียน รวมถึงการเปิดพื้นที่เพดานสิทธิทางวัฒนธรรมให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างอิสระ และ 3. อัตมโนทัศน์เชิงบวกที่นำไปสู่ความเป็นธรรมในชั้นเรียน เป็นการแปรเปลี่ยนความอคติของครูที่มีต่อวัฒนธรรมรองนำไปสู่ท่าทีและลีลาการสอนที่เปิดกว้างสำหรับผู้เรียนที่ภูมิหลังมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมในชั้นเรียน</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา