วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human <p>วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นเอกสารวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในลักษณะของบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ (การเงิน การบัญชี การจัดการ โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว) ศึกษาศาสตร์ (การวัดและประเมินผล บริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน วิจัยทางการศึกษา) วิจัยทางด้านสังคม และพัฒนาชุมชน <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน</strong><strong> 2 หรือ 3 คน </strong><em>(ขึ้นกับความประสงค์ของผู้นิพนธ์) </em>โดย<strong>ประเมินแบบ Double-Blinded review</strong> เผยแพร่แบบออนไลน์ (ISSN: 2985-1424 (Online)) ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม) </p> th-TH <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น</p> [email protected] (วัรดา บินตุซัยด์ เส็มไข่) [email protected] (วัรดา บินตุซัยด์ เส็มไข่) Fri, 15 Mar 2024 14:59:15 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบกลยุทธ์การตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของ 10 วัดน่าเที่ยว ในจังหวัดอุบลราชธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/263973 <p>บทความนี้มุ่งวิเคราะห์การตลาด ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยว และเสนอรูปแบบกลยุทธ์การตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของ 10 วัดน่าเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 704 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาทั้ง 10 วัด จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การแบ่งส่วนทางการตลาด สามารถแบ่งออกได้เป็นวัยเรียน วัยทํางาน และวัยเกษียณ โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี เดินทางมากับครอบครัว เพื่อไหว้พระ ขอพร กลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา การกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของวัดทั้ง 10 แห่งมีสิ่งดึงดูดใจในระดับเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมของวัดบ้านนาเมืองและวัดหนองป่าพง มีระดับที่สูงกว่าวัดอีก 8 แห่ง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดจำนวน 7 ตัวแปร มีผลต่อการเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้สูงถึงร้อยละ 91.4 และรูปแบบกลยุทธ์การตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา สามารถกำหนดกลยุทธ์ได้ 7 ด้าน ประกอบด้วย ได้แก่ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา ด้านราคาสมเหตุสมผล ด้านความสะดวกสบาย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรทางการท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านการจัดชุดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา</p> ปริวรรต สมนึก, พรชัย ศักดิ์ศิริโสภณ, นวทิวา สีหานาม Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/263973 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 การส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาทรัพยากรน้ำเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/265853 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์และเพื่อศึกษาพัฒนาการเกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้และแบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ผู้สอนต้องเริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนและมีความเกี่ยวข้องกับนักเรียน การออกแบบคำถามที่ใช้ในกิจกรรมจะต้องกระตุ้นการคิดและเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ที่นักเรียนต้องเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการคิดหรือแปลงปัญหาทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการมากที่สุด รองลงมาคือด้านการใช้คณิตศาสตร์และด้านการตีความและประเมิน ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้สอนควรกำหนดบทบาทในการทำกิจกรรมกลุ่มและลำดับการนำเสนอให้ชัดเจน อีกทั้งดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดในแต่ละขั้นตอนและให้คำแนะนำที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที</p> ปริญญา ชมนก, สิรินภา กิจเกื้อกูล Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/265853 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/265472 <p>การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่สถานศึกษาต้องดำเนินการในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งการทำวิจัยในชั้นเรียนยังถือเป็นอุปสรรคสำหรับครูบางส่วน เนื่องจากครูไม่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน และ 2) ตรวจสอบแนวทางการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดลำพูน โดยผู้วิจัยดำเนินการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และนำข้อมูลที่ได้มาสนทนากลุ่มกับบุคลากรภายในศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มกับบุคลากร ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของครู มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำ 2) การนิเทศ 3) การมุ่งประสิทธิภาพ และ 4) การร่วมมือ โดยมีแนวทางการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียนตามกระบวนการ PDCR ประกอบด้วย 1) การวางแผนการดำเนินงานวิจัย (Plan) 2) การดำเนินการวิจัย (Do) 3) การตรวจสอบผลการดำเนินการวิจัย (Check) และ 4) การสะท้อนผลการดำเนินการวิจัย (Reflect) ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของครูพบว่า แนวทางนี้เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานวิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ผู้บริหารจึงควรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรพัฒนาทักษะการวิจัย อันจะส่งผลให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> สิริพัชรีวรรณ สาสุจิตร, ณัฐิยา ตันตรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/265472 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/266209 <p>การส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในวิชาประวัติศาสตร์ ควรต้องมีรูปแบบการสอนที่เหมาะสม ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นการวิจัยทดลองที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในวิชาประวัติศาสตร์ ผลการวิเคราะห์พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก มีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ การระบุปัญหาประวัติศาสตร์การรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ การไตร่ตรองข้อมูลประวัติศาสตร์ การเลือกข้อสรุปประวัติศาสตร์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติศาสตร์ และผลของรูปแบบพบว่า หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนกลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียน (p &lt; 0.05) หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการคิดขั้นสูงในวิชาประวัติศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน (p &lt; 0.05) และครูในโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มทดลอง มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ผลดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่ได้พัฒนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ การจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงในวิชาประวัติศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้จากการคิดร่วมกัน นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางให้ครูได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในวิชาอื่นต่อไป</p> วิภาดา พินลา, วิภาพรรณ พินลา, ณัชชา มหปุญญานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/266209 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ : เสียงสะท้อนจากผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/266174 <p>ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษานั้น แม้ว่าจะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กลุ่มที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการปรับปรุงหลักสูตรคือกลุ่มผู้เรียนในฐานะลูกค้าหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการศึกษา ดังนั้นเสียงของผู้เรียนเป็นดั่งภาพสะท้อนที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนโดยตรง งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผ่านมุมมองของนักศึกษาในหลักสูตรจำนวน 90 คน ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 47 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 43 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในฐานะนักศึกษาฝึกงานของหลักสูตรฯ ด้วย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบสอบถามนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรฯ (2) แบบสอบถามนักศึกษาฝึกงาน และ (3) แบบสัมภาษณ์นักศึกษาฝึกงาน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าภาพรวมโครงสร้างและรายวิชาเอกในหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในระดับมาก โดยรูปแบบหลักสูตรที่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องการคือ หลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning มีรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงหรือได้รับประสบการณ์จริงเพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานและพัฒนาทักษะทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพหลักสูตรที่สอดรับกับสภาวการณ์ปัจจุบันและตลาดแรงงาน</p> อดิศา เบญจรัตนานนท์, วิมลรัตน์ รัตนญาติ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/266174 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 ทัศนคติที่มีต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงินในยุค 4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/262240 <p>การทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงินมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ประชากรไทยอีกจำนวนหนึ่งตัดสินใจไม่ทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบดังกล่าว บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงิน และเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินในรูปแบบดังกล่าวของตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน โดยตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่และตัดสินใจไม่ทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบออนไลน์ 400 ราย ที่ถูกเลือกด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลจากการศึกษาพบว่า ในภาพรวมตัวอย่างมีทัศนคติว่าบริบททางสังคมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงินในระดับปานกลาง ขณะที่ตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของระดับทัศนคติต่อสิ่งกีดขวางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมปลาย เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยของระดับทัศนคติต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินในรูปแบบออนไลน์แตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างอื่น ๆ บางกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มเติมความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำธุรกิจการเงินผ่านระบบออนไลน์ให้กับกลุ่มนี้เพื่อให้หันมาตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น</p> เบญญาภา กันทะวงศ์วาร Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/262240 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบฐานสมรรถนะเชิงรุก : สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูวิทยาศาสตร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/267282 <p>การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการศึกษา แต่ที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฐานสมรรถนะเชิงรุกน้อยมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปฏิบัติ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบฐานสมรรถนะเชิงรุกของครูผู้สอนในจังหวัด ลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี (2) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบฐานสมรรถนะเชิงรุก ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้มาจากโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากครูจำนวน 310 คน ผลการวิจัย พบว่า (1) ครูมีระดับการปฏิบัติและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฐานสมรรถนะ เชิงรุกอยู่ในระดับมาก และมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่า ครูได้จัดการเรียนรู้ตามแนวสมรรถนะเชิงรุกอยู่แล้ว แต่ก็ยังคงมีความต้องการที่จะพัฒนาแนวทางการปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น (2) แนวทางการพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวสมรรถนะแบบเชิงรุก ควรมุ่งไปที่ความชัดเจนเกี่ยวกับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะเป็นสำคัญ โดยแนวทางการพัฒนาครูประกอบไปด้วย การให้ครูได้สวมบทบาทเป็นผู้เรียน กลยุทธ์ด้านกลุ่มความร่วมมือ การสะท้อนความคิดในการปฏิบัติ การอธิบายแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ <strong> </strong></p> พินิจนันท์ เนื่องจากอวน, กันตพัฒน์ กิตติอัชวาลย์ , ทวีศักดิ์ ขวัญไตรรงค์, วันวิสาข์ ลิจ้วน, อาทิตย์ เนื่องอุดม Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/267282 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการจัดการสุขภาพแบบพื้นบ้านด้วยการใช้กิจกรรมเรือมมะม็วด ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร ในจังหวัดศรีสะเกษ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/264579 <p>ระบบสุขภาพถือเป็นระบบย่อยหนึ่งของระบบสังคม ที่มีความเกี่ยวพันกันของส่วนต่าง ๆ ทำหน้าที่เพื่อจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลในสังคมมีสุขภาวะที่ดี การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งทำความเข้าใจความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร ในจังหวัดศรีสะเกษที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรือมมะม็วด และกระบวนการการตัดสินใจในการเลือกรักษาโรคตามวิธีทาง การแพทย์สมัยใหม่หรือการจัดการสุขภาพแบบพื้นบ้านด้วยการใช้กิจกรรมเรือมมะม็วดของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทย-เขมร การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีพื้นที่การศึกษาเป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร จำนวน 6 หมู่บ้าน และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 139 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ด้านความเชื่อพบว่า มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 38.14 เท่านั้น ที่ยังคงมีความเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัยว่า “การจัดกิจกรรมเรือมมะม็วดสามารถช่วยบำบัดหรือรักษาผู้ป่วยได้” โดยครอบครัวที่จัดกิจกรรมเรือมมะม็วดให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันว่า “การจัดกิจกรรมเรือมมะม็วด ไม่ใช่กิจกรรมที่จะจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง แต่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพราะมีเหตุอันจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมนี้ขึ้น ไม่จัดไม่ได้” ซึ่งเหตุจำเป็นมี 4 ประเด็น ได้แก่ การเจ็บป่วยด้านร่างกาย ปัญหาด้านสภาพจิตใจ การบูชาครูกำเนิด และการแก้สิ่งที่บนบานไว้ และ 2) กระบวนการการตัดสินใจในการเลือกรักษาโรคตามวิธีทางการแพทย์สมัยใหม่หรือการจัดการสุขภาพแบบพื้นบ้านด้วยการใช้กิจกรรมเรือมมะม็วด พบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของบุคคลที่เคยใช้กิจกรรมเรือมมะม็วด ในฐานะเครื่องมือในการจัดการสุขภาพ มักจะใช้ระบบการแพทย์แผนปัจจุบันในการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก่อนเสมอ</p> เตชภณ ทองเติม, พิทักษ์ มีดี, น้ำผึ้ง ท่าคล่อง, จีรนันท์ แก้วมา Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/264579 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผลิตข้าวซ้อมมือ บ้านโคกอิฐ-โคกใน จังหวัดนราธิวาส https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/263875 <p>การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชน เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตข้าวซ้อมมือบ้านโคกอิฐ-โคกใน จังหวัดนราธิวาส แนวทางส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชน และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ประธานกลุ่ม เลขานุการ เหรัญญิก สมาชิกกลุ่ม ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด นักวิชาการ ผู้รับซื้อและผู้บริโภคสินค้าทั้งหมด 20 คน เลือกแบบจำเพาะเจาะจงผู้ที่มีประสบการณ์สามารถเป็นตัวแทนได้ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบบันทึก การสังเกต และแบบสอบถามประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและการดำเนินงาน ได้แก่ บุคลากร การเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ แนวทางการส่งเสริมกลุ่มด้านบุคลากรต้องจัดให้มีการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านการเงินต้องรับการพัฒนาความรู้และทักษะการทำบัญชี ด้านวัสดุอุปกรณ์เน้นวัตถุดิบจากสมาชิกกลุ่มเป็นหลัก ด้านการจัดการต้องวางแผนและกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ผลการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มให้ได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้และมีทักษะวิชาชีพที่ดี 2) สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการด้านการเงินตามแผนที่วางไว้ 3) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมาจากครัวเรือนสมาชิกที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และ 4) การบริหารจัดการกลุ่มเป็นระบบด้วยการวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้</p> จามจุรี จุลพูล, ยุพวดี ศรีสุวรรณ, ประภัสสร หะยะมิน, ณฤทธิ์ ไทยบุรี, รัชยา ศิริพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/263875 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 การคิดเชิงบวกสำหรับเด็กปฐมวัย : จุดเริ่มต้นของความสำเร็จในชีวิตปัจจุบันและอนาคต https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/269391 <p>บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการคิดเชิงบวกสำหรับเด็กปฐมวัย: จุดเริ่มต้นของความสำเร็จในชีวิตปัจจุบันและอนาคต โดยนำเสนอประเด็นแนวคิดเกี่ยวกับการคิดเชิงบวก ความสำคัญของการคิดเชิงบวกสำหรับเด็กปฐมวัย วิธีการเปลี่ยนแปลงการคิดเชิงลบสู่การคิดเชิงบวกสำหรับเด็กปฐมวัย แนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการคิดเชิงบวกสำหรับเด็กปฐมวัย และเทคนิคการพัฒนาการคิดเชิงบวกสำหรับเด็กปฐมวัย จากการศึกษาเอกสาร ตำรา บทความวิชาการและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การคิดเชิงบวกเป็นความสามารถในการทำความเข้าใจและยอมรับได้ทั้งสิ่งที่เป็นด้านบวกและด้านลบ พร้อมที่จะเข้าใจ เรียนรู้และควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ดีภายใต้สถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต และเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถช่วยให้คนผ่านพ้นอุปสรรคนานัปการ หากบุคคลใดมีการคิดเชิงบวกจะยิ่งดึงดูดสิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิตของแต่ละคน การคิดเชิงบวกเป็นสิ่งสำคัญต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น ผู้ที่มีการคิดเชิงบวกจะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตโดยใช้พลังที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ การพัฒนาการคิดเชิงบวกในเด็กปฐมวัยควรเป็นลำดับความสำคัญอยู่เป็นลำดับต้น ๆ เพราะเป็นช่วงระยะก่อนวัยเรียนสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กวัยนี้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ส่งผลทั้งร่างกายและจิตใจ เมื่อต้องมารับข้อมูลและข่าวสารด้านลบในแต่ละวันอาจนำไปสู่ปัญหาในภายหลังได้ และเป็นการสร้างรากฐานที่เข้มแข็งและมีคุณภาพทางด้านอารมณ์ จิตใจ อุปนิสัยและความสามารถซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตของเด็กในอนาคต</p> สุธน วงค์แดง Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/269391 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700