การจัดการความเครียด : กรณีศึกษาพนักงานเทศบาลนครรังสิต

ผู้แต่ง

  • สมเจตต์ เกตุเกษม
  • เฉลิมพร เย็นเยือก

คำสำคัญ:

ความเครียด, การจัดการความเครียด, เทศบาลนครรังสิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดจากปัจจัยด้านงานของพนักงานเทศบาลนครรังสิต และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานประกอบด้วย ลักษณะงาน ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายกับการจัดการความเครียดของพนักงานเทศบาลนครรังสิต ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานเทศบาลนครรังสิต จำนวน 110 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดไว้

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเครียดในภาพรวมได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และ ด้านบทบาทหน้าที่ที่ได้รับอยู่ในระดับมากทุกด้าน  ส่วนผลการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ และ แบบหลีกหนี อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานที่ทำให้เกิดความเครียด ประกอบไปด้วย ลักษณะงาน ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายกับรูปแบบการจัดการความเครียด พบว่า ปัจจัยด้านงาน 2 ด้านคือด้านลักษณะงาน และด้านบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดแบบหลีกหนี และ ปัจจัยด้านงาน บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผู้บริหารควรจัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างความสุขทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ เพื่อลดความเครียดในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-19 — Updated on 2024-06-14

Versions