ลักษณะเด่นในนวนิยายแปลจีน พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้ศึกษานวนิยายแปลจีน พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ เรื่องผีเสื้อ เมฆเหินน้ำไหล หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า นารีนครา และตลอดกาลน่ะนานแค่ไหนที่สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของการเมือง และสภาพสังคมของสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่อดีตที่มีการปกครองในระบอบคอมมูน จนถึงสมัยใหม่ที่เป็นระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม และแสดงการปะทะ การปรับปรนและการสังสรรค์ของวัฒนธรรม
ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายแปลจีน พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีลักษณะเด่นด้านภาษาและด้านเนื้อหา ลักษณะเด่นด้านภาษา มี 2 ประการ ได้แก่ การสรรคำและการใช้ภาพพจน์ การสรรคำมี 3 ประการ ได้แก่ คำซ้อน ชุดคำ และคำที่มีความหมายตรงกันข้าม การใช้ภาพพจน์มี 3 ประการ ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ และสัทพจน์ โดยผู้วิจัยศึกษาเปรียบเทียบกับต้นฉบับนวนิยายภาษาจีน ลักษณะเด่นด้านเนื้อหามี 3 ประการ ได้แก่ ด้านแนวคิด ด้านตัวละครและด้านฉาก โดยปรากฏลักษณะเด่นด้านแนวคิดเรื่องการปะทะกันของค่านิยมแบบดั้งเดิมกับค่านิยมแบบใหม่ ความดีเป็นสิ่งที่มั่นคงและยั่งยืน การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่มีความแตกต่างและความรักของคนในครอบครัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง สิ่งที่มั่นคงและยั่งยืนคือความดีและความรัก ลักษณะเด่นด้าน ตัวละครปรากฏว่าตัวละครหญิงโดดเด่นกว่าตัวละครชายคือ ผู้หญิงสามารถทำหน้าที่แทนผู้ชายได้ มีความเข้มแข็งและ มีความสามารถ ลักษณะเด่นด้านฉากปรากฏฉากชุมชนและฉากธรรมชาติ ซึ่งแสดงถึงคุณค่าของวัฒนธรรมดั้งเดิมและ การพยายามรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมพร้อมรับวัฒนธรรมสมัยใหม่ โดยฉากธรรมชาติช่วยนำเสนอและเสริมอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครให้เด่นชัดขึ้น
นวนิยายแปลจีน พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใช้ภาษาประณีตงดงาม สำนวนราบรื่น ทำให้ผู้อ่านรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครและเกิดจินตภาพ โดยแสดงสภาพสังคมและวัฒนธรรมจีนซึ่งคล้ายคลึงกับสังคมไทย พระราชนิพนธ์แปลจีนจึงมีคุณประโยชน์ต่อสังคมไทยและประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ผู้อ่านตระหนักได้ถึงคุณค่าของความดีและความรัก ซึ่งทำให้มนุษย์มีความสุข อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
Article Details
References
ญาดา อรุณเวช อารัมภีร์. (2558). รัตนศิลปิน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บัวสรวง.
ทีมข่าวสตรี. (2560, 24 มีนาคม). เจ้าฟ้านักประพันธ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ไทยรัฐ. หน้า 21.
เถี่ยหนิง. (2557). ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน. แปลโดย เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
ฟังฟัง. (2555). เมฆเหินน้ำไหล. แปลโดย เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: นามีบุ๊คส์.
มาตยา อิงคนารถ. (2542). ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2559, พฤษภาคม - มิถุนายน). พระราชนิพนธ์แปลวรรณกรรมจีนร่วมสมัยในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(2): 1-33.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (2556). มิใช่เพียง “นางเอก”. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
วาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์. (2552). ภาคผนวก. ใน ผีเสื้อ. หน้า 210-236. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
สิทธา พินิจภูวดล . (2541, มกราคม). เรืองประกายลายอักษร ในพระราชนิพนธ์แปล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วัฒนธรรมไทย. 35(4): 32-34.
หวังอันอี้. (2555). หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า. แปลโดย เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
หวางเหมิง. (2552). ผีเสื้อ. แปลโดย เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
池莉. (2001). 她的城. 第1版. 南京: 江方文艺.
方方. (1992). 行云流水. 第1版. 长江文艺.
铁凝. (2006). 永远有多远. 第1版. 北京: 人民文学.
王安忆. (2009). 小鲍庄. 第1版. 广州: 花城.
王蒙. (2007). 蝴蝶 之 蝴蝶为什么美丽: 王蒙五十创作精读. 第1版. 上海: 夏旦大学.