แนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

Main Article Content

ผศ.ดร. กนกพร ฉิมพลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


          มีขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาพฤติกรรมจิตอาสาและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 495 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ระดับพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาภาคปกติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการวิเคราะห์โดยสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน เพื่อพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) ขั้นตอนที่ 2  การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสา มีการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยกระบวนการและวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Groups) กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key – Informant) จำนวนทั้งหมด 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป นำเสนอเป็นข้อความบรรยาย (Descriptive)


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับสูงและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เรียงตามลำดับปัจจัยที่ส่งผลสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การสนับสนุนจากเพื่อนและการรับรู้ความสามารถของตนเอง  และ 2) แนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสาได้แก่ (1) การช่วยเหลือผู้อื่น (2) ความเสียสละต่อสังคมและ (3) ความมุ่งมั่นพัฒนา และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสา ได้แก่ (1) เจตคติต่อจิตอาสา (2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง และ (3) ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน (4) การสร้างแรงจูงใจ (5) การสนับสนุนจากครอบครัว (6) การสนับสนุนจากเพื่อน (7) การสนับสนุนจากอาจารย์และ (8) การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย


 


 

Article Details

บท
Research articles

References

Chaiwat Suthirat. (2009). Teaching Children to Have Public Mind. Bangkok. We Print.
Nantarat Pariwattham. (2010). Study of Factors Influential in Volunteer Behaviors of Children and Youths Receiving Scholarship of the Crown Property Bureau. Master’s Degree Thesis. Thammasart University.
Nattanichakorn Sriboribun.(2007). Causal Model Development of Volunteer High School Students from Sakom School of the Office of the Basic Education Commission. Master’s Degree Thesis. Chulalongkorn University.
Nonglak Jaichalad. (2009). Pattern of Moral and Ethical Enhancement of Students from Thai Higher Educational Institutes. Doctor’s Degree Thesis. Naresuan University.
Office of the Education Council. (2005). Standard of National Education. Second Edition. Bangkok: Office of the Education Council.
Pinkanok Wongpinpetch et al. (2010) . Factors Related to Volunteer Work of Students from King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Academic Journal of the Faculty of Applied Arts. January-June 2010. 3(1). King Mongkut's University of Technology North Bangkok.

Pornprom Pakpuak. (2007). Some Factors Influential in Public Mind of Forth Year Students in Eastern Area of Saha Wittaya, Bangkok. Master’s Degree Thesis. Srinakharinwirot University.
Sukontha Sengcharoen. (2013). Analysis of Casual Relation Structure of Factors Influential in Public Consciousness of Undergraduates from Srinakharinwirot University. Master’s Degree Thesis. Srinakharinwirot University.
Thidachanok Wongpitak. (2013). Social Factors Influential in Volunteer Behaviors of Students from Srinakharinwirot University. Master’s Degree Independent Study. Srinakharinwirot University.