กลวิธีการแปลคำนามและนามวลีเหนือจริงในโลกเวทมนตร์ของวรรณกรรมชุด “Harry Potter”

Main Article Content

คณาพร แก้วแกมจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “กลวิธีการแปลคำนามและนามวลีเหนือจริงในโลกเวทมนตร์ของวรรณกรรมชุด Harry Potter” มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากลวิธีการแปลคำนามและนามวลีเหนือจริงในโลกเวทมนตร์ของวรรณกรรมชุด Harry Potter จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคำนามและนามวลีเหนือจริงของต้นฉบับและฉบับแปล และแบบบันทึกกลวิธีการแปล ข้อมูลที่ใช้ศึกษาคือคำนามและนามวลีเหนือจริงที่ปรากฏในวรรณกรรมฉบับภาษาอังกฤษ ชุด Harry Potter เล่มที่ 1-3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การเปรียบเทียบวามหมายคำนามและนามวลีเหนือจริงในภาษาต้นฉบับกับคำในภาษาฉบับแปล จากนั้นนำคำที่ได้จากการวิเคราะห์มาจำแนกตามกรอบกลวิธีการแปล 18 กลวิธี ที่ใช้เป็นเกณฑ์ตามแบบบันทึกกลวิธีการแปลที่สร้างขึ้น


ผลการศึกษาพบว่า จากกรอบกลวิธีการแปล 18 กลวิธี ผู้แปลใช้กลวิธีการแปลคำนามและนามวลีเหนือจริงจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจำนวน 10 กลวิธี โดยใช้กลวิธีใน 2 ลักษณะ คือ การใช้กลวิธีการแปลแบบเดี่ยวและการใช้กลวิธีแบบผสม โดยกลวิธีการแปลที่ใช้มากที่สุด 5 อันดับแรกเรียงลำดับตามค่าความถี่จากมากไปน้อย มีดังนี้ 1) การแปลโดยการสร้างศัพท์ใหม่ด้วยการแปลคำยืมแบบตรงตัว 2) การแปลโดยการใช้คำทับศัพท์ปนคำไทย 3) การแปลโดยการใช้คำทับศัพท์หรือคำยืม 4) การแปลโดยการใช้คำในภาษาแปลสร้างศัพท์ใหม่ และ 5) การแปลโดยการใช้ทั้งการสร้างศัพท์ใหม่ด้วยการแปลคำยืมแบบตรงตัวและการใช้คำอื่นทีมีความหมายใกล้เคียงกัน


    

Article Details

บท
Research articles

References

ชัยวัฒน์ คุประตกุล. (2554, มกราคม – มิถุนายน). มิติการแปลวรรณกรรมจินตนาการ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 30 (1), 83 – 98.

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2547). การแปลวรรณกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันตก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วลีพร หวังซื่อกุล. (2546). แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). (แปลจาก Harry Potter And The Prisoner Of Azkaban. โดย J.K. ROWLING). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.

สสส. (2557). วรรณกรรม 50 เรื่อง ที่ต้องอ่านก่อนโต. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

สัญฉวี สายบัว. (2542). หลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2546). การแปลขั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี. (2546). แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). (แปลจาก Harry Potter And The Sorcerer ‘ s Stone. โดย J.K. ROWLING). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.

สุมาลี. (2546). แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). (แปลจาก Harry Potter And The Chamber Of Secrets.โดย J.K. ROWLING). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.

อัจฉรา เทพแปง. (2555, กรกฎาคม – ธันวาคม). กลวิธีการแปลคำนามประสมจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง “แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์”. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 14 (1), 95-104.

Baker, Mona. (2011). In Other Words: A Coursebook on Translation. (2nd ed.). Oxon: Routledge.

Kotarba Polly L. (2016). Harry Potter: A Link to the Fantasy Ganre. Retrieved August 1, 2016, from www.uh.edu/honors/...and.../pdfs/...novels/kotarba-03-kid-lit.pdf

Makinen, Katri. (2010). Harry Potter and The Challenges of Translation: Treatment of personal names in the Finnish and German transitions of the three first Harry Potter books by J.K. Rowling. Master’s Thesis, Department of Languages English University of Jyvaskyla.

Rowling, J.K. (1999). Harry Potter And The Chamber Of Secrets. (1st ed.). New York: SCHOLASTIC PRESS.

Rowling, J.K. (1999).Harry Potter And The Prisoner Of Azkaban. (1st ed.). New York: SCHOLASTIC PRESS.

Rowling, J.K. (1998). Harry Potter And The Sorcerer‘s Stone. (1ST ed.). New York: SCHOLASTIC PRESS.