ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องสิทธิการทำงานในกลุ่มทายาทรุ่นที่ 2 ของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา ในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

Benjaporn Kokpae

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องสิทธิการทำงานในกลุ่มทายาทรุ่นที่ 2 ของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องสิทธิการทำงานในกลุ่มทายาทรุ่นที่ 2 ของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในจังหวัดสมุทรสาคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณมีหน่วยในการวิเคราะห์ระดับปัจเจก กลุ่มตัวอย่างคือ ทายาทรุ่นที่ 2 ของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จำนวน 380 คน ซึ่งสุ่มมาแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2563 ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการหาคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ทายาทรุ่นที่ 2 ของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาเป็นหญิงร้อยละ 52.4 อายุเฉลี่ย 23 ปี ราว 3 ใน 5 เป็นคนโสด ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 32.6 มากกว่าครึ่งเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมและร้อยละ 9.7 เป็นผู้ว่างงาน ราว 1 ใน 3 ทำงานปฏิบัติงานที่ต้องใช้ฝีมือ มีรายได้จากงานประจำ(ต่อเดือน) สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ร้อยละ 79.2 (รวมค่าทำงานล่วงเวลา) มีความสัมพันธ์ทางสังคมระดับค่อนข้างสูงและสูงร้อยละ 79.8 มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจากสื่อในระดับค่อนข้างสูง ร้อยละ 38.4 และมีความรู้เกี่ยวกับการขอแปลงสัญชาติไทยค่อนข้างสูงและสูงร้อยละ 78.4 และมีความรู้เรื่องสิทธิการทำงานในระดับค่อนข้างสูงและสูงร้อยละ 66.3 โดยเฉพาะด้านสิทธิการทำงานขั้นพื้นฐาน ด้านประเภทและลักษณะงาน แต่ส่วนใหญ่ยังมีความรู้เรื่องสิทธิการทำงานด้านการขออนุญาตทำงานในระดับต่ำ และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องสิทธิ การทำงานในกลุ่มทายาทรุ่นที่ 2 ของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา มี 6 ปัจจัย ได้แก่ อายุ ระยะเวลาที่ได้รับการศึกษา รายได้จากงานประจำ(ต่อเดือน) ความสัมพันธ์ทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับการขอแปลงสัญชาติไทย

Article Details

บท
Research articles

References

กรมการปกครอง. (2508). พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508. สืบค้น 5 เมษายน 2563, จาก http://www.thailawforum.com/nationality-act/

กฤตยา อาชวนิจกุล, และกุลภา วจนสาระ. (2552). รายงานการวิจัยการจ้างแรงงานข้ามชาติ ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 กับการจัดทำบัญชีรายชื่อสำหรับคนต่างชาติ. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2554). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์, และกัญญา อภิพรชัยสกุล. (2562). เด็กข้ามชาติ เกิด อยู่ โต อย่างไร. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดุษฎี อายุวัฒน์. (2562). “คนอีสานย้ายถิ่น” สถานการณ์และผลกระทบ. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

โธมัส กวาดามูซ, คุณากร การชะวี, นัฐวุฒิ สิงห์กุล, ณภัทร จันทสุข และ ณัฐรัชต์ สาเมาะ. (2557). การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศที่มีความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติลาวนอกระบบ. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นฤมล อรุโณทัย. (2560). ปัญหาคนไร้สัญชาติ ซับซ้อนแต่ไม่ไร้ความหวัง. รู้ลึกกับจุฬา. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/12859/

บุษยรัตน์ กาญจนดิษจ์. (2558). ประกันสังคมกับแรงงานข้ามชาติสิทธิที่ไม่เท่าเทียม?. นักสื่อสารแรงงาน. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/2XVwIYR

______. (2558). ย้อนมองสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในรอบปี 2558 : ได้สิทธิแรงงานน้อยนิด อยู่อย่างปกปิด และมักถูกลืมในกฎหมายคุ้มครองแรงงานเสมอ. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/2KqlvaT

ผจงรักษ์ ศรีไชยวงค์. (2557). การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติหญิงจากพม่า : กรณีศึกษาลูกจ้างทํางานบ้านในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ

พราวพิชชา เถลิงพล. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 254-267.

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา. (2561). การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมาผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี.ใน งานเสวนาเสวนาธรรมศาสตร์สู่สังคมครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิจิตรา สึคาโมโต้. (2560). หมดยุค“สิ่งพิมพ์” หรือยัง?. รู้ลึกกับจุฬา. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/2349/

สำนักแรงงานมพันธ์. (2553). พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518. สืบค้น 5 เมษายน 2563, จาก http://www.thailandroad.com/legal/laborrelation.htm

สำนักงานคุ้มครองแรงงาน จังหวัดสมุทรสาคร. (2562). ข้อมูลสถิติจำนวนแรงงานเด็กได้รับจ้างทำงานในจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.

______. (2562). ข้อมูลสถิติจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่จ้างแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.

สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร. (2556). ชุมชนที่มีแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานจัดหางาน จังหวัดสมุทรสาคร.

_______. (2562). จำนวนแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาอายุระหว่าง 18 – 28 ปี ที่ได้รับจ้างทำงานในจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร : สำนักงานจัดหางาน จังหวัดสมุทรสาคร.

_______. (2563). อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร : สำนักงานจัดหางาน จังหวัดสมุทรสาคร.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2521). พระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2521. สืบค้น 1 เมษายน 2563, จาก https://www.doe.go.th.

_______. (2522). การกำหนดในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522. สืบค้น 5 เมษายน 2563, จาก http://www.mol.go.th/en/node/3949

______. (2560). คนต่างด้าวทั่วไปใบอนุญาตทำงานยังไม่หมดอายุจะเปลี่ยนนายจ้างได้หรือไม่อย่างไร. สืบค้น 15 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/358rP07

______. (2560). พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560. สืบค้น 15 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/2VzZjBK

สำนักงานประกันสังคม. (2560). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ กรณีว่างงาน. สืบค้น 25 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/2KBXn5i

สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ. (2550). มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิแรงงานข้ามชาติ แนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติในเอเชียและแปซิฟิก. กรุงเทพฯ: สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ.

อดิศร เกิดมงคล. (2546). บันทึกชีวิตแรงงานพม่า: จากแรงงานทาสสู่แรงงานเถื่อน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ.)

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, จรัมพร โห้ลำยอง และกัญญา อภิพรชัยสกุล. (2554). ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติใน 11 จังหวัดสำคัญในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553. ใน สุรีย์พร พันพึ่งและมาลี สันภูวรรณ์ (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม: จุดเปลี่ยนประชากรจุดเปลี่ยนสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

Save the Children in Thailand. (2558). เส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่า บทวิจารณ์เรื่องการศึกษา สำหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทย. ตาก: World Education

Ayuwat, D., Narongchai, W., & Choosrithong, S. (2014). Labour rights of informal labour in rural Khon Kaen, Thailand: the home workers’ perspectives. Social Sciences Research, 5(1), 649 – 657.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques, 3rd Edition. Oxford, England: John Wiley.

Collins, W.J., & Zimran, A. (2018). The economic assimilation of irish famine migrants to the united states. Explorations in Economic History (Research report). United Kingdom: Cambridge.

Ismail, S. M. (2016). Demystifying the Belittled Second Generation of Human Rights. Retrieved April 20, 2020, from https://www.researchgate.net/publication /325945962_Demystifying_the_Belittled_Second_Generation_of_Human_Rights

Mahiwan, P., & Ayuwat, D. (2019). Factors Associated to The Gender Roles Socialization of Working Women: A Case of Major City, Thailand. Social and Political Sciences, 2(3), 554-561.

Margaret, M.C. (2016). Navigating the road to work: second generation Asian American finance workers. Asian American policy review, 26(1), 20-29.

Moon, S.H. (2020). Being and becoming ‘dropouts’: contextualizing dropout experiences of youth migrant workers in transitional Myanmar. Qualitative Studies in Education, 1(1), 1-19.

Portes, A. and Zhou, M. (1993).The New Second Generation: Segmented Assimilation and Its Variants. The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 530(1), 74-96.

The Asia Foundation and International Labour Organization. (2015). Migrant and Child Labor in Thailand’s Shrimp and Other Seafood Supply Chains: Labor Conditions and the Decision to Study or Work. Bangkok, Thailand