ภาษาเวียดนามของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม: ภาษาใกล้สูญ ของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา
ณัฐพล ชารีรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาแม่ ความสามารถ ทางภาษา การเลือกใช้ภาษาของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม และประเมินสถานการณ์ ทางภาษาเวียดนามของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ตามกรอบแนวคิดการประเมินสถานการณ์ทางภาษาของยูเนสโก เครื่องมือวิจัยเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับภาษาแม่ ความสามารถทางภาษา และการเลือกใช้ภาษาในแวดวง ที่บ้านและแวดวงนอกบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คนไทยเชื้อสายเวียดนาม จำนวน 90 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบ f-test ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มอายุต่ำกว่า 25 ปี ไม่ได้ใช้ภาษาเวียดนามเป็นภาษาแม่ แต่ใช้ภาษาลาวอีสานและภาษาไทยแทน 2) ทั้ง 3 กลุ่มอายุ มีความสามารถทางภาษา เวียดนามทั้งการฟังและพูดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มอายุ ต่ำกว่า 25 ปี มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้ภาษาไทยมากขึ้นทั้งแวดวงที่บ้านและแวดวงนอกบ้าน และแทบจะไม่เลือกใช้ภาษาเวียดนามเลย ขณะที่อีก 2 กลุ่มอายุ มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้ ภาษาเวียดนามปนกับภาษาลาวอีสานและภาษาไทยมากขึ้น และ 4) ภาษาเวียดนาม ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นภาษาใกล้สูญ ที่อยู่ใน “ระดับใกล้สูญอย่างแน่นอนจนถึงระดับใกล้สูญอย่างรุนแรง"

Article Details

บท
Research articles

References

กรรณิการ์ วรหาร. (2556). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นเวียดนามของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน,

จตุพร ดอนโสม. (2551). การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

ณัฐพล ชารีรักษ์. (2563). การเลือกใช้ภาษาของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในโรงเรียนธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

ณัฐพล ชารีรักษ์ และวิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา (2564ก). การเลือกใช้ภาษาของวัยรุ่นผู้ไทในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 1-24.

ณัฐพล ชารีรักษ์ และวิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2564ข). ภาวะหลายภาษาของวัยรุ่นผู้ไทในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 10(1), 54-80.

ณัฐพล ณ สงขลา. (2563). บทบาทของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม: ศึกษาระหว่าง ค.ศ. 2001-2019. หลักสูตรนักบริหารการทูต (รายงานการศึกษาส่วนบุคคล). สถานบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปกร กระทรวงการต่างประเทศ.

ทวี รุ่งโรจน์อุดมผล. (2564, 27 เมษายน). นายกสมาคมชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. [สัมภาษณ์].

นวพล กรรณมณีเลิศ. (2559). ทัศนคติต่อภาษาและการเลือกใช้ภาษาของชาวไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

นิภากร กำจรเมนุกูล. (2556). การสื่อสารการเมืองของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

บุษบา แฝงสาเคน. (2557). การเลือกใช้ภาษาและทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยถิ่นโคราชของประชากรชาวไทยโคราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย.

เบญจนา เสนไสย. (2556). การเลือกภาษาและการสลับภาษาระหว่างภาษาเขมรถิ่นไทยและภาษากลางของชาวบ้านหนองเข้ ตำบลสุขสบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

ฝ่าม แทนห์ ฮ่าย. (2559). ความสามารถในการใช้ภาษาและการเลือกใช้ภาษาของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

พงษ์เทพ โรจน์วิรัตน์. (2564, 27 เมษายน). ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. [สัมภาษณ์].

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งศิลปะการพิมพ์.

พัชรา อัมพวานนท์. (2551). การธำรงและการเปลี่ยนภาษาในชุมชนมอญ กรณีศึกษาชุมชนบางขันหมาก ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย.

พิมพ์ชนา พาณิชย์กุล. (2554). การเลือกภาษาและการธำรงภาษาของคนไทยเชื้อสายมอญบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย.

เฟื่องฟ้า ลัยมณี. (2556). การผสมกลมกลืนทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.

มธุรส คุ้มประสิทธิ์. (2562). การศึกษาสถานภาพทางภาษาของภาษามอญที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(4), 1747-1766.

ยูทากะ โทมโอกะ. (2552). ทัศนคติต่อภาษาและการเลือกภาษาของคนไทยอีสานที่มีอายุต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา-มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย.

วรรธนะ ปัญบุตร และสุวัฒนา เลียมประวัติ. (2561). การเลือกภาษาของชาวผู้ไทอำเภอคำม่วงและอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 1747-1766.

สราวุฒิ ไกรเสม. (2552). การธำรงและการเปลี่ยนภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อุรักละโวยในตำบลรัษฎา อำเภอเมืองหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย.

สุทธิดา จันทร์ดวง. (2560). การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋องประเทศไทยและสาธารณรัฐ-ประชาธิปไตยประชาชนลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2547). ความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์: ทรัพยากรล้ำค่าหรือปัญหาที่แก้ไม่ตก. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 23(2), 15-24.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2548). วิกฤตทางภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์: ปัญหาหรือโอกาส. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 24(1): 5-9.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2549). สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 25(2), 5-17.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2532). คำจำกัดความศัพท์ในภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Crystal, D. (2000). Language Death. Cambridge: Cambridge University Press.

Lenore A. Grenonle. (2011). Language Ecology and Endangerment. In Peter K. Austin and Julia Sallabank (Ed.), The Cambridge Handbook of Endangered Languages. (pp. 27-44). New York: Cambridge University Press.

Isa, B. Z., Ahmed H. K. & Grema, Y. (2014). Language Death and Endangered Language. IOSR Journal Of Humanities And Social Science. 19(10), 46-48.

Thanh, P. H. & Chanthao, R. (2016). Language Competence and Choice of Vietnamese-Thais in Thailand. Journal of Mekong Societies, 12(3), 65-81.

UNESCO. (2003). Language Vitality and Endangerment. Presented at the International Expert Meeting on UNESCO Programme Safeguarding of Endangered Languages, Paris: UNESCO Ad Hoc Expert Group on Endangered Languages.