การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL)

Main Article Content

ณัฐนันท์ จันทโสก
วรางคณา เทศนา

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) จำนวน 8 แผน 8 ชั่วโมง มีคุณภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  2. แบบทดสอบการอ่านและการเขียนสะกดคำ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.22-0.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23-0.74 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.84 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31-0.88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล


ผลการวิจัยพบว่า


  1. แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัด
    การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.07/80.86
    ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

  2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) มีค่าเท่ากับ 0.4639 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้า
    ในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 46.39

  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Article