การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD

Main Article Content

เบญจกัญญา ปานงาม
วรางคณา เทศนา

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/9 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ซึ่งได้โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Samping) เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STAD จำนวน 7 แผน จำนวน 7 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนเรื่องคำนาม แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)


          จากการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD ผลการวิจัยปรากฏดังนี้            


  1. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD
    มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.73/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

  2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD มีค่าเท่ากับ 0.7139 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 71.39

  3. ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วย
    กลุ่มร่วมมือ STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.82

   

Article Details

บท
Research Article