การศึกษาทัศนคติต่อภูมิทัศน์ของโรงไฟฟ้าวังน้อย

Authors

  • รุจิโรจน์ อนามบุตร ภาควิชาการออกแบบ และวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิลาสินี สุขสว่าง ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภูมิทัศน์โรงไฟฟ้า, ทัศนคติต่อภูมิทัศน์, การวิเคราะห์และประเมินภูมิทัศน์และทัศนคุณภาพ, Power Plant Landscape, Attitudes toward the Landscape, Landscape and Visual Quality Analysis and Assessment

Abstract

         ภูมิทัศน์นับเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีของผู้คนที่มีต่อโรงไฟฟ้า เขื่อน เหมือง และโรงงาน ซึ่งมักมีภาพลักษณ์เกี่ยวข้องกับการก่อมลภาวะและทำให้เกิดทัศนคติในทางลบต่อผู้พบเห็น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจในทัศนคติของผู้คนที่มีต่อภูมิทัศน์โรงไฟฟ้า และศึกษาแนวทางในการปรับปรุงภูมิทัศน์โรงไฟฟ้าที่มีความเหมาะสม โดยมีโรงไฟฟ้าวังน้อยเป็นกรณีศึกษา

         การวิเคราะห์และประเมินภูมิทัศน์และทัศนคุณภาพเป็นหลักการพื้นฐานของการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้แบบสอบถามที่มีรูปภาพประกอบเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 270 ชุด ใช้ภาพตัวแทนทั้งสิ้น 43 ภาพ เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนความสวยของภาพภูมิทัศน์เหล่านั้นด้วยมาตรวัดทัศนคติที่แบ่งคะแนนออกเป็น 6 ระดับ แบบสอบถามประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นทั่วไปและทัศนคติที่มีต่อภูมิทัศน์โรงไฟฟ้าวังน้อย โดยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร (2) ผู้ที่อยู่นอกกรุงเทพมหานคร (3) ผู้ที่อยู่โดยรอบโรงไฟฟ้าวังน้อย (4) พนักงานโรงไฟฟ้าวังน้อย (5) นักออกแบบกายภาพ

         ผลการวิจัยพบว่า ภูมิทัศน์ของโรงไฟฟ้าวังน้อยที่ปรากฏในระยะไกลได้รับคะแนนความสวยในระดับที่ไม่สูงนัก เนื่องจากภูมิทัศน์ถูกรบกวนด้วยสิ่งก่อสร้างของโรงไฟฟ้าที่มักมีขนาดสูงใหญ่ โดยแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ที่มีประสิทธิภาพก็คือ การปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนวอย่างเป็นระเบียบในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่ออำพรางสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ส่วนการใช้ต้นไม้ประดับตกแต่ง เช่น ไม้เลื้อยบนรั้วของโรงไฟฟ้านั้น มีส่วนช่วยเพิ่มความสวยงามของภูมิทัศน์ได้ไม่มากนัก นอกจากนี้ยังพบว่าการทาสีสิ่งก่อสร้างให้มีสีสันสดใสกลับส่งผลให้ความสวยงามลดลงในหลายกรณี สำหรับภูมิทัศน์ภายในโรงไฟฟ้าวังน้อยส่วนด้านหน้านับว่ามีความสวยงามมากอยู่แล้ว การปรับปรุงให้สวยงามมากขึ้นทำได้โดยการดูแลรักษาต้นไม้ยืนต้นที่มีอยู่แล้วให้เจริญเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ โดยบรรยากาศที่ร่มรื่นมากขึ้นจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับภูมิทัศน์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการประดับตกแต่งใดๆ เพิ่มเติม ส่วนการปรับปรุงด้วยการปลูกไม้พุ่มหรือไม้คลุมดินแทนสนามหญ้านั้นพบว่า กลับทำให้ลดทอนความสวยงามของภูมิทัศน์ลง เนื่องจากเป็นการทำให้เกิดความรกรุงรังและขาดระเบียบ

 

The Study of Attitudes toward the Visual Landscape of Wangnoi Power Plant

Rujiroj Anambutr
Department of Urban Design and Planing, Faculty of architecture, Silpakorn University

Wilasinee Suksawang
Faculty of Architecture, Chulalongkorn University

 

         Landscape appearance is one of the major contributors to public’s attitude towards power plants, dams, or mines. Several conventional power generating projects have suffered from negative image problem due to alleged severe pollution and environmental problems. This study seeks to understand people’s attitudes towards landscape appearance of a power plant and suggest a guideline for power plant landscape improvement, with the Wangnoi Power Plant in Ayuthaya, Thailand as the case study.

         Landscape and visual analysis and assessment is the guiding principle in this study, with a Photo-questionnaire as the main data collection tool. A total of 270 questionnaires were collected. Forty-three pictures of the Wangnoi Power Plant and its surroundings were selected to become representative pictures of landscape appearance. Participants were asked to give ratings on each picture on a 6-point Likert Scale. Participants’ attitudes towards the power plant and their personal characteristics were solicited. Sampling groups consist of 1) Bangkok residents, 2) Outside Bangkok residents, 3) Residents in the vicinity of the plant, 4) Plant employees, and 5) Design professionals.

         The results revealed that landscape appearance of the plant from long distance was at low level of preference due to disturbance from the power plant large structures, i.e., power transmission towers. However, an effective mitigation would be to use row of large trees at strategic points to obscure the unsightly elements from important lines of sight. Furthermore, small plants and vine close to the plant structure did not raise the level of respondents’ preference while colorful cosmetic decoration of the plant structure did further lower their already low preference for the pictures. However, the already tidy appearance of the existing landscaping areas around the plant front office was highly admired and addition of more full grown trees to provide more lush atmosphere would raise the preference to even higher. However, planting decorative shrubs or vines did not help due to the perceived untidiness.

Downloads

How to Cite

อนามบุตร ร., & สุขสว่าง ว. (2018). การศึกษาทัศนคติต่อภูมิทัศน์ของโรงไฟฟ้าวังน้อย. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 32, D–31. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/101361

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning