ม้าหำใหญ่ ไก่ขาเดียว : สัญลักษณ์ความล้มเหลวของงานออกแบบแหวกแนวในสังคมเมืองลำปาง ทศวรรษ 2520-2530
Keywords:
การออกแบบที่ล้มเหลว, สำนึกทางประวัติศาสตร์, เมืองลำปาง, Failed design, historical consciousness, Lampang cityAbstract
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้สอยสิ่งก่อสร้างในพื้นที่สาธารณะในนามเทศบาลเมืองลำปางในช่วงทศวรรษ 2520-2530 อันเป็นช่วงเวลาที่จังหวัดลำปางอยู่ในช่วงการพัฒนาที่ชะงักงัน การออกแบบได้ก่อให้เกิดสิ่งก่อสร้างที่แปลกใหม่และแหวกแนว แต่ก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก นอกจากการใช้งานที่ไม่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยและรูปแบบ เนื่องจากคนลำปางไม่เข้าใจความหมายของการออกแบบที่ลํ้ายุคเกินไป ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การออกแบบไม่ประสบความสำเร็จยังสัมพันธ์กับสำนึกทางประวัติศาสตร์บางประการที่สัมพันธ์อยู่กับความทรงจำร่วมเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมสลายของเมืองไป การรับรู้ถึงการออกแบบที่ล้มเหลวยังสะท้อนให้เห็นจากคำขวัญล้อเลียนจังหวัดที่เป็นตัวแทนของสิ่งก่อสร้างในยุคดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
The Failure of Modern Design in Lampang City Between 1980-1990s
Pinyapan Potjanalawan
Lampang Rajabhat University
This article aims to explain the interaction between designers and users of the building in public by Lampang Municipality between 1980-1990s; the period of Lampang province’s problem was under the crisis of city development. Some constructions were designed in such modern structures that Lampang people could not accept. They criticized the forms and function which were hard to understand. The important factor of the failure also related to some historical consciousness about the rise and decline of the city. The failure of modern design has reflected in the form of Lampang’s motto in folk sayings version from the past up until now.