มอกวิหาร: วิธีการกำหนดระเบียบสัดส่วน ในการออกแบบวิหารในภาคเหนือของไทย
Keywords:
มอกวิหาร, ระเบียบสัดส่วนในการออกแบบวิหาร, ภาคเหนือ, Mok Vihara, guideline for desing form and proportion, North of ThailandAbstract
“มอกวิหาร” บ้างเรียกว่า “สูตรการหักไม้วิหาร” เป็นวิธีการกำหนดระเบียบสัดส่วนในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมวิหารในภาคเหนือ ซึ่งคำว่า “มอก” หมายถึง สัดส่วนที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักในสร้างสรรค์ศิลปสถาปัตยกรรม ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดความลงตัว และงดงามตามที่นิยมของท้องถิ่น อาทิ วิหาร เรือน พระพุทธรูป เกวียน เป็นต้น
จากการศึกษาพบ “มอกวิหาร” บันทึกอยู่เอกสารเก่า ซึ่งสันนิษฐานว่าวิธีการกำหนดระเบียบสัดส่วนในการก่อสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยล้านนา และมีการถ่ายทอดความรู้เป็นภูมิปัญญาเชิงช่างสืบทอดต่อเนื่องกันมา ซึ่งยังพบเป็นภูมิปัญญาเชิงช่างของช่างอาวุโสที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างวิหารตามวิธีการแบบเก่า และลูกศิษย์ผู้ติดตามครูบามหาเถระที่บูรณะก่อสร้างวัดในอดีต และสามารถสืบทอดวิธีการดังกล่าว
Mok Vihara: Guidelines for Vihara Propotion and Design in Northern Thailand
Tawatchai Tumtong
Tourism Industry Program, Faculty of Management Science, Lampang Rajabhat University
“Mok Vihara” or “Sutra karn hak mai Vihara” is the guidelines for architectural design of Northern Vihara in Thailand. “Mok” is a technical term implying suitable proportion derivedfrom calculation and measurement, used for folk art and architecture. This type of local wisdom has been applied and adjusted through times and finally becomes uniqueness for each type of art, for example “Mok” for Vihara, decoration, Buddha images, and carts.
According to documents and literature review, “Mok”, which was sometimes called “Tamra karn hak mai Vihara”, was found in ancient manuscripts. It was assumed to be found in ancient Lanna period, and has been transferred through generations of the locals. At present, it is considered Lanna local wisdom.