ความหลากหลายของเรือนไทยเมืองเพชรบุรี

Authors

  • วีระ อินพันทัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

เรือนไทยประเพณี, สถาปัตยกรรมไทย, สถาปัตยกรรมชนหมู่น้อย, Traditional Thai House, Thai Architecture, Ethnic Architecture

Abstract

        แผ่นดินเพชรบุรีมีผู้คนหลายชนชาติร่วมอาศัยอยู่ นอกเหนือจากคนไทย ยังมีคนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกหลายกลุ่ม ผู้คนถิ่นนี้นิยมปลูกที่อยู่อาศัยเป็นแบบเรือนไทย ไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้น แม้คนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก็รับเอารูปแบบเรือนไทยไปปลูกเป็นที่อยู่อาศัยกันไม่น้อย ทำให้เกิดคำถามว่า วัฒนธรรมของคนกลุ่มอื่น โดยเฉพาะความเชื่อซึ่งแตกต่างไปจากคนไทย จะมีอิทธิพลต่อเรือนไทยอันเป็นที่อยู่อาศัยของเขาอย่างไร คำถามนี้นำไปสู่วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย ในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางความเชื่อกับลักษณะของเรือนไทย 

       วิธีการวิจัยเปน็ การวิจัยภาคสนาม โดยเลือกทำการวิจัยในคน 3 กลุม่ คือคนไทยซึ่งเป็นคนหมู่มาก กับคนอีก 2 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ จีนและมุสลิม ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถธำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้เหนียวแนน่ ชุมชนของคนทั้งสามกลุ่ม กลุ่มละ 1 แห่ง ได้รับการคัดเลือกเพื่อเก็บข้อมูลปฐมภูมิของที่อยู่อาศัยแบบเรือนไทยชุมชนละ 10 หลัง ด้วยวิธีการสำรวจรังวัด สังเกตการณ์ระยะยาว และสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยด้วยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แผนผัง วิเคราะห์รูปลักษณ์ และวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบร่วมกัน

        ผลการวิจัยค้นพบว่า เมื่อคนกลุ่มชาติพันธุ์รับเอาเรือนไทยไปปลูกเป็นที่อยู่อาศัยของตน นอกจากการปรับตัวคล้อยตามที่อยู่อาศัยแบบเรือนไทย เรือนไทยก็ได้รับการปรับให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมความเชื่อของเขา แสดงให้เห็นความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างความเชื่อกับลักษณะของที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดเรือนไทยที่มีอัตลักษณ์เฉพาะของคนแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่แตกต่างจากเรือนของคนไทยที่เป็นต้นแบบ ยังผลให้เกิดความหลากหลายของเรือนไทยในเมืองเพชรบุรี

 

The Diversity of Traditional Thai Houses in Phetchaburi

Vira Inpuntung
Faculty of Architecture, Silpakorn University

        Apart from Thai, there are many ethnic groups living in Phetchaburi. While numerous traditional Thai houses have been built as living space for the people in this area, it is notable that the ethnics have adopted traditional Thai style to
build their houses resulting in their interesting characteristics. The main objective of the present research is to find out the relationship between cultures, especially believes, and the features of traditional Thai houses occupied by different ethnic
groups.

        Methodologically, the research was mainly based on field-survey conducted in the communities of three groups of people, Thais, Chinese, and Muslims. Ten traditional Thai houses of each community were selected as a sample for
collecting primary data by means of measuring, long-term observations, and non-structured interviews. Then, all data collected were examined through planning analysis, morphological analysis, and comparative analysis.

        The results show that when different ethnic groups built their houses in traditional Thai style, they have to not only adapt themselves to reside in their new houses but also shape their houses to suit their particular cultures. Therefore, while the houses of the ethnics are different from and similar to the style of Thai houses, new characteristics of traditional Thai houses have begun to take shape in the area of Phetchaburi.

Downloads

How to Cite

อินพันทัง ว. (2016). ความหลากหลายของเรือนไทยเมืองเพชรบุรี. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 24, 1. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/43967

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment