เรือนพื้นถิ่นไต เสน่ห์และความหมายที่ปลายจ๋อง
Keywords:
เรือนพื้นถิ่นไต, ยอดจั่ว, ปลายจ๋อง, Tai houses, rooftop, roof tipAbstract
บทความนี้มุ่งศึกษารูปแบบการตกแต่งยอดจั่วปลายจ๋องของเรือนพื้นถิ่นไตในล้านนา และ พื้นที่ข้างเคียง อันเป็นองค์ประกอบตกแต่งส่วนยอดของเรือน เป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการสร้างเอกลักษณ์ เพราะอยู่บนยอดเป็น ส่วนสูงที่สุด มองเห็นได้เด่นชัดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลงพื้นที่ทำงานวิจัยการบริการวิชาการ และการเรียน การสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบ ที่มาและความหมายของ องค์ประกอบนี้ ตลอดจนการประยุกต์ใช้กับอาคารสมัยใหม่ มีขอบเขตการศึกษาอยู่ในพื้นที่ล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของไทย รัฐฉานของเมียนมาร์ และแคว้นสิบสองปันนาของจีน โดยเฉพาะ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ซึ่งมีการใช้องค์ประกอบนี้มากกว่าจังหวัดอื่นๆ
ผลการศึกษา พบรูปแบบปลายจ๋อง จำนวน 8 รูปแบบ ได้แก่ แบบไม่ประดับใดๆ แบบ ไม้ปกจ๋อง แบบกาแล แบบแม่แจ่ม แบบมงกุฎ แบบสรไน แบบปิดแหลว และแบบดอกเอื้อง มีที่มา และความหมายจากข้อสันนิษฐานต่างๆได้ 5 ประการ คือ เพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อความสวยงาม ทำตามคติความเชื่อ เพื่อประโยชน์ใช้สอย และทำตามประเพณีสืบต่อกันมา และพบว่า สถาปนิกใน ล้านนานิยมนำมาปลายจ๋องมาใช้กับอาคารสมัยใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ ทั้งบ้านพักอาศัย และอาคารประเภทอื่นๆ แต่ความนิยมเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา จากที่นิยมใช้ปลายจ๋องกาแลเมื่อ 20–30 ปีก่อน เป็นการใช้ปลายจ๋องแม่แจ่มในปัจจุบัน
Tai House: The Charm and Meaning of Its Rooftop
Suebpong Chansuebsri
Lecturer, The Faculty of Art and Architecture
Rajamangala University of Technology Lanna
This article is based on the study of the roof ornaments in Tai Houses in Lanna and the vicinity. The roof decoration is considered unique and significant as it is outstanding on the topmost part of the roof. This research is part of the academic services and teaching to examine the style and meaning of the relevant elements or components of the houses, including the modification of the modern buildings in Lanna Area 8 in the upper northern provinces of Thailand and Shan State of Myanmar as well as Sipsongpanna in China. Those in Chiang Mai and Lamphun Provinces in particular seemed to have more components than those in other provinces. The study resulted in finding as many as 8 styles or models ranging from one with a plain or no decoration style and the lintel style, galae, Mae Chaem, crown, soranai pitlaeo and orchid styles. The origin and meaning of these could be due to 5 reasons: auspiciousness, beauty, beliefs, function and traditions. Some Lanna architects like to blend the roof tip ornaments with modern architecture to maintain the local identity for residential houses and other kinds of buildings. The popularity varies in each period. The galae style popular 20-30 years ago has been recently replaced by the Mae Chaem style.