ระบบโครงสร้างหลังคา “ตั่งโย” ในงานสถาปัตยกรรมในภูมิภาคล้านนา

Authors

  • สุชล มัลลิกะมาลย์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต Vienna University of Technology, Austria

Keywords:

ตั่งโย, จันทัน, ระบบทางโครงสร้าง, รูปลักษณ์ทางโครงสร้าง, เทคนิควิธีการก่อสร้าง, Tang Yo, Rafter, Spar, Structural System, Structural Typology, and Building Technique

Abstract

        “ตั่งโย” เป็นระบบโครงสร้างหลังคาระบบหนึ่งที่ใช้ในภูมิภาคล้านนา โครงสร้างระบบนี้ยัง ไม่ได้รับการศึกษาอย่างจริงจังมาก่อน และบางครั้งในงานวิชาการมีการเรียกชื่อสับสนกับโครงสร้าง จันทันที่ใช้กันแพร่หลายในระบบโครงสร้างทางภาคกลาง บทความใช้ระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบ ในการอภิปรายเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ความแตกต่าง และพัฒนาการทางโครงสร้าง ประเด็น ที่บทความใช้ในการวิเคราะห์ประกอบไปด้วย “ระบบทางโครงสร้าง” “รูปลักษณ์ทางโครงสร้าง” “เทคนิควิธี” ในการวิเคราะห์ผู้เขียนจะทำการจำลองเงื่อนไขและคำถามที่เกิดขึ้นในการทำงานของ ช่างเมื่อต้องทำงานอยู่บนระบบตั่งโย ชุดคำถามเหล่านี้ประกอบไปด้วย ทำอย่างไรถึงจะสร้างระนาบ โค้ง? ทำอย่างไรถึงจะยึดตั่งโยบนขื่อและดั้ง? และทำอย่างไรถึงจะประยุกต์ใช้โครงหลังคากับวัสดุมุง สมัยใหม่

        โครงสร้างตั่งโยสามารถทำการจำแนกในเชิงรูปลักษณ์และเทคนิควิธีได้ดังนี้ คือ 1) ตั่งโย สัณฐานตรง ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบ 1.1 ยึดบนแป และ แบบ 1.2 ยึดบนขื่อแกมแป 2) ตั่งโยสัณฐานโค้ง และ 3) โครงสร้างผสมระหว่างตั่งโยและจันทัน การศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของระบบ โครงตั่งโย คือ การพัฒนาฐานความเข้าใจของช่าง และการพัฒนาของอุปกรณ์เครื่องมือช่าง ซึ่งถ้าจะ แบ่งปัจจัยตามช่วงเวลาอาจจะสามารถพิจารณาได้เป็น 2 ช่วงเวลาคือ 1) พัฒนาการก่อน และ 2) หลังการเข้ามาของเทคโนโลยีตะวันตก ช่วงเวลาการเข้ามาของเทคโนโลยีตะวันตกเป็นช่วงเวลาของ การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในงานสถาปัตยกรรมล้านนา ช่างจะต้องเผชิญกับเงื่อนไขการทำงานใหม่ ต้อง ประยุกต์ใช้อุปกรณ์และเทคนิควิธีการก่อสร้าง เกิดพัฒนาการและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสำนึกของ สังคม

 

On “Tang Yo”: a Historic Structural System of Roof in Lan Na

Suchon Mallikamarl

Ph.D. Candidate, Vienna University of Technology, Austria

        “Tang Yo” or “Spar” in English is a historic structural system of Roof in Lan Na. The system has not yet been fully studied before. Sometime, there were a confusion on terminology and frequently mixed them up with a rafter. The study employs a comparative method: Generalization and Differentiation in order to elucidate the development of Tang Yo system. The aspects of the system concern here are of “Structural System,” “Typology of Structural Component,” and “Building Techniques.” On the analysis, these aspects will be examined by the practical questions that Carpenter in Old Lan Na supposed to be faced upon working in the Tang Yo system. These questions are: How to create a curved roof by Tang Yo? How to fix Tan Yo to tied beam and king post? How to apply Tang Yo system to modern roof tile?

        According to the configuration of component, Tang Yo could be classified as: 1) Strength 2) Curved and 3) Transformed. The study found that the factors that refine the evolution of Tang Yo are the development of the understanding of carpenter and of tools. The periods of the development of Tang Yo could be seen in 2 phases: the development before a Western Influence and The development due to Western influence. The arrival of Western influence brought a beginning of transitional period in Lan Na historic architecture. The carpenter in this period had experienced the transformation of working condition and the change of mentality of society in Lan Na.

Downloads

How to Cite

มัลลิกะมาลย์ ส. (2017). ระบบโครงสร้างหลังคา “ตั่งโย” ในงานสถาปัตยกรรมในภูมิภาคล้านนา. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 35. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44219

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment