เรือนพักอาศัยในกลุ่มชาติพันธุ์ผสมผสาน: โซ่งและพวนที่บ้านวังรอ ต.วังมหากร อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

Authors

  • อรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

โซ่ง, พวน, บ้านวังรอ, กระหล่อห้อง, Song, Phuan, Ban Wang Raw, Kar-lor-hong

Abstract

        บทความวิจัยนี้เกิดจากความสนใจในการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับโซ่ง และพวน ผนวกกับการสำรวจภาคสนามกลุ่มโซ่งและพวนหลายพื้นที่ ได้พบว่าที่บ้านวังรอ ตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานร่วมของโซ่งและพวนที่ย้ายถิ่นฐานมาจาก เพชรบุรีและสุพรรณบุรี มาร่วม 6 ทศวรรษ ทำให้สนใจที่จะศึกษาว่า ทั้งกลุ่มโซ่งและพวนซึ่งต่าง ก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ที่ยังคงมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวเกี่ยวกับความเชื่อที่ปรากฏในที่พักอาศัย เมื่อทั้งสองกลุ่มมีการแต่งงานข้ามกลุ่ม อัตลักษณ์เฉพาะตัวเกี่ยวกับความเชื่อที่ปรากฏในเรือนพัก อาศัย ยังคงหลงเหลืออยู่หรือไม่ ผลของการศึกษาพบว่า เรือนของกลุ่มโซ่งที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว คือ มี “กระหล่อห้อง” หรือห้องผีบรรพบุรุษ ซึ่งต้องมีการทำพิธีเซ่นไหว้ หรือ “เสนเรือน” ยังมีปรากฏอยู่ในเรือน เฉพาะที่ผู้ชายโซ่งแต่งงานกับผู้หญิงพวนเท่านั้น แต่หากผู้หญิงโซ่งแต่งงานกับผู้ชายพวน ในเรือนจะไม่ปรากฏว่ามี “กระหล่อห้อง” หลงเหลืออยู่ แต่จะปรากฏห้องพระตามความเชื่อของพวนแทน ทำให้เห็นความสำคัญของการสืบทอดความเชื่อในเรือนว่า การสืบทอดความเชื่อในเรือนพักอาศัยของ ฝ่ายชาย สำคัญกว่าการสืบทอดความเชื่อของฝ่ายหญิง

 

The Vernacular House in Mixed Marriage Ethnic Group: Song and Phuan Ethnic at Ban Wang Raw, Wang Mahakorn Sub-District, Tatakoh District, Nakorn Sawan Province

Ornsiri Panin

Professor Emeritus, Faculty of Architecture, Kasetsart University

        The research paper derived from Phuan and Song Ethnic literature review in addition with various field survey. It was found that at Ban Wang Raw, Wang Mahakorn Sub-District, Tatakoh District, Nakorn Sawan Province, the settlement of both groups were located together for more than six decades ago. Thus lead of the question in concerning with the strong identity on belief which play a guar role in Song’s vernacular house. If there are mixed marriage between two groups, does the strong identity on belief in “kar-lor-hong” or the ancestor’s room still existed. It was found that if the husband is Song the “kar-lor-hong still exist belief the wife is Song the “kar-lor-hong” will be faded away. Thus seems to show the power of male than female in the family cultural heritage.

Downloads

How to Cite

ปาณินท์ อ. (2017). เรือนพักอาศัยในกลุ่มชาติพันธุ์ผสมผสาน: โซ่งและพวนที่บ้านวังรอ ต.วังมหากร อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 191. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44233

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment