รูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา ภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

Authors

  • Kreangkrai Kirdsiri อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • Isarachai Buranaut นักวิจัยและนักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สกว. หลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

พระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา, พระมหาธาตุอยุธยา, อยุธยา, พระปรางค์, Phra Sri Rattana Mahathat Ayuthaya, Phra Mahathat Ayuthaya, Ayuthaya, Phra Prang

Abstract

        บทความ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง” เป็นการศึกษาเพื่อการสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมองค์ พระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งเรือนยอดเดิมได้พังลงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2153 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2176 ซึ่งการบูรณ ปฏิสังขรณ์ได้แก้ไขส่วนยอดของพระมหาธาตุให้สูงขึ้นกว่าเดิม สำหรับนพศูลใช้ของเดิม นอกจากนี้ ยัง มีการก่ออิฐเสริมเป็นมุขอีก 3 ด้านและมีการก่อสร้างสถูปทรงปรางค์บนสันหลังคามุขทิศทั้ง 4 ด้าน บุเรือนยอดด้วยทองจังโกและปิดทองรวมเป็นพระปรางค์ 5 ยอด ดังกล่าวถึงในเอกสารคณะทูตลังกาที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นอกจากนี้ยังศึกษาสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ อยู่ภายในผังบริเวณที่ล้อมรอบด้วยระเบียงคด อาทิ พระปรางค์มุม เจดีย์บริวาร มณฑปบริวาร และ เจดีย์มุมด้วย

 

Phra Sri Rattana Mahathat Ayuthaya after the Restoration in the Reign of King Prasat Thong

Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D.

Lecturer, Department of Architecture Faculty of Architecture, Silpakorn University

Isarachai Buranaut

Researcher and Ph.D. Candidate, Faculty of Architecture, Silpakorn University

        “Phra Sri Rattana Mahathat Ayudhaya after the Restoration in the Reign of King Prasat Thong” is the study about consumption of architectural forms of the Prang whose top collapsed in the reign of King Song Tham in 1610 and was restored in the reign of King Prasat Thong in 1633. The Prang became taller with the old tier. The new construction was done at the three sides. There was also the construction of stupas on all four sides of the roof top, covered by gold leaf. Hence, there were five Prangs with golden top, as mentioned in historical document of the ambassadors from Lanka in the reign of King Borom Koat. Other architectural components were also studied, consisting of the gallery, Prangs at the corners, surrounding Chedis, surrounding Mondops, and Chedis at the corners.

Downloads

How to Cite

Kirdsiri, K., & Buranaut, I. (2017). รูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา ภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 249. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44240

Issue

Section

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย | History of Architecture and Thai Architecture