ศรัทธาในการสร้างงานพุทธศิลปกรรมของล้านนา
Keywords:
ศรัทธา, พระพุทธศาสนา, การสร้างสรรค์ศิลปกรรม, ล้านนา, Faith, Buddhism, Creativity, LannaAbstract
จากการศึกษาเรื่อง “ศรัทธา” ในพระพุทธศาสนา ในที่นี้หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ กอปรด้วยเหตุผล ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ความเชื่อที่มีปัญญาประกอบและกลั่นกรองในการตัดสิน ใจ ซึ่งหมายถึง ความเชื่อในพระรัตนตรัยที่มีการเกี่ยวข้องกับการบรรลุธรรมของพระพุทธศาสนาและ เป็นความเชื่ออย่างมีเหตุผลที่เป็นไปตามความเป็นจริงเท่านั้น เป็นความเชื่อที่สร้างปัญญาให้เกิดขึ้น และต้องเป็นปัจจัยในการเกื้อกูลต่อการเข้าถึงเป้าหมายในพระพุทธศาสนา คือ “นิพพาน”
ทั้งนี้ จากการศึกษาประวัติศาสตร์ และพัฒนาการการสร้างงานพุทธศิลปกรรมในล้านนา พบว่า การสร้างงานพุทธศิลปกรรม คือ งานทางด้านศิลปกรรม ศิลปวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา แห่พระพุทธเจ้า และยังเป็นเครื่องมือในงานพิธีกรรมต่างๆ และรองรับหรือตอบสนองการใช้งานใน พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา อันเป็นสัญลักษณ์แทนคติความเชื่อ และเพื่อให้พิธีกรรมสมบูรณ์มาก ขึ้น พร้อมทั้งยกระดับความสำคัญของพระรัตนตรัยในจินตนาการ อันเป็นแสดงออกถึงอารยธรรมและ ความคิดสร้างของคนถ่ายทอดในงานพุทธศิลปกรรมที่ถูกสร้างขึ้นจนเกิดเป็นความงามทางศิลปะ ผ่าน ฝีมือเชิงช่าง ช่างแต่ละพื้นที่จะมีฝีมือแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ซึ่งมีส่วนให้รูปแบบการสร้าง งานพุทธศิลปกรรมแต่ละแห่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
ในด้านการวิเคราะห์ศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อสร้างงานพุทธศิลปกรรมใน ล้านนา พบว่า การสร้างงานพุทธศิลปกรรมแสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับอดีตพุทธะ การแสดงถึงความเคารพพระพุทธรูป รวมไปถึงคติความเชื่อเรื่องจักรวาล คติ พุทธศิลปกรรมเกิดจากการสร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ สร้างขึ้นจากศรัทธาเพื่อถวายเป็นพุทธ บูชา สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมบุญ หรืออุทิศส่วนกุศล ดังนั้น ศรัทธาจึงเป็นเหมือนแรงบันดาล ใจที่ทำให้เกิดการสร้างงานพุทธศิลปกรรม ความศรัทธาเป็นการแสดงถึงความเทิดทูน เคารพ เลื่อมใส ในศาสนา ก่อเกิดคุณค่าต่อพุทธศาสนิกชนในล้านนา คุณค่าในด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา คุณค่าในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และคุณค่าในด้านสื่อธรรม พุทธศิลปกรรม คือ “สื่อน้อมนำ ศรัทธา” จึงเป็นเสมือนประจักษ์พยานแห่งความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ในล้านนามาจนถึงทุกวันนี้
The Faith on the Creation of Buddhist Art in Lanna
Theerasuttapot, Ven. Phrakru (Phramaha Sa –Nga Chaiwong)
Ph.D. Candidate, The Acting Director of Administrative Office Mahachulalongkornrajavidayalaya University, Chiang Mai Campus
According to the term ‘Saddha’, it refers to faith; belief; confidence with associated with emotion. To the faith in the Buddhist Arts, it aims to attract the people to venerate the Buddhism that existed from the fourfold of judge or take standard viz., Råpa-pamàõa: the beauty of appearance or form, Ghosa-pamàõa: faith depends on sweet voice or good reputation, Låkha-pamàõa: faith depends on shabbiness or ascetic or self-denying practices and Dhammapamàõa: faith depends on right teachings and practices. The above mentioned not only resulted or caused the confidence to people, but also develop knowledge of the worldly person. The beauty of arts produces the aesthetic feelings and also the confidence in the Enlightenment of the Buddha in the form of Uddesikacetiya i.e. a Buddha image.
Regarding to the development of the Buddhist Arts in Lanna region, it has been existed and shared the similarities with the Dvaravati architecture and the Burmese arts in Bagan style. There are some characteristics that unique to the folk artisans which later it has developed as the prototype of Lanna architecture around the 20th century. The highest development of Lanna arts existed around the 20th century and the Chiang Mai Kingdom becomes the centre of Buddhism. The works of arts were considered to be strongly related to the propagation of Lankavamsa Buddhism.
The Lanna Buddhist Arts represent the wide range of forms that were inspired by architecture in the previous period viz., Sukhothai, Burma in Bagan period, etc. It was seamlessly developed with the vernacular architecture and has been passed down for generations with the confidence of creating the Buddhist arts in Lanna. In case of building a temple, not only the kings, but also the ordinary people can be the president of construction. Regarding to Wat Mahawan in Chiang Mai and Wat Chedi Saw