การศึกษานำร่ององค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อบ้าน สำเร็จรูปเพื่อผู้สูงอายุโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis)

Authors

  • ปณิตา วงศ์มหาดเล็ก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

Prefabricated House, Elderly house, Conjoint Analysis

Abstract

        งานวิจัยนี้ เป็นวิจัยนำร่องมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาองค์ประกอบที่ผู้บริโภค ที่ต้องการจะ ปรับปรุงบ้านเพื่อผู้สูงอายุพึงพอใจ ต่อผลิตภัณฑ์บ้านประกอบสำเร็จเพื่อผู้สูงอายุ และมีเป้าหมาย ที่จะนำผลการศึกษาไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่สนใจเรื่องบ้านสำเร็จรูป จากฐานข้อมูลของให้บริการและ ส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมบ้านสำเร็จรูป (SME) เชิงสร้างสรรค์เพื่อผู้ประสบภัย(CPR) อาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 42 คน

        การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้จากข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิจากหนังสือ งานวิจัย ตลอดจนการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เพื่อสกัดคุณลักษณะ (Attribute) และ ค่าระดับ (Level) จนได้ออกมา 3 คุณลักษณะคือ ราคาค่าก่อสร้าง ระยะเวลาในการส่งมอบบ้าน และขนาดของบ้าน โดยแต่ละคุณลักษณะแบ่งออกเป็น 3 ค่าระดับ จากนั้นได้นำไปสร้างเป็นแบบสอบถามและนำไปใช้ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างแล้วนำมาวิเคราะห์ โดยมีผลการศึกษาดังนี้ องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่สุดคือ ราคามีค่าความสำคัญที่ 39.92 ส่วนขนาดของบ้านเป็นอันดับรองลงมา ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ ปัจจัยระยะเวลาในการส่งมอบบ้าน คือมีค่าความสำคัญอยู่ที่ 31.92 และ 28.1 ตามลำดับ และผลการ วิเคราะห์อรรถประโยชน์รวมชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบราคา กับขนาดของบ้าน โดยให้ ความสำคัญกับระยะเวลาน้อยกว่า 2 ปัจจัยแรก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่ มีอายุ 30-40 ปี มีรายได้ตํ่ากว่า 50,000 บาท

 

A pilot study of prefabricated house for elderly: Preference attributes using Conjoint Analysis technique

Panita Wongmahadlek

Assistant Professor, Faculty of Architecture, Silpakorn University

        This pilot study aim at the understanding in consumer preference of elderly and family who prepare for house improvement to suit aging parents or for themselves. Three major attributes has been form through exiting literatures reviewing, primary data surveying and experts group interviewing in order to develop research tools. Three attributes are price, size of prefab house and assembling and installing duration. These 3 attributes are divided into 9 level. Because of the constraint of time frame, sampling size is limited. Sampling group has been selected from CPR Facebook fan page living in Bangkok Metropolitan Region. Five profile cards is presented to 45 respondents then using Conjoint Analysis technique to analyze the data.

        In research results found that the 45 respondents gave precedence to Cost as the first place (Important Value=39.92) whereas Size of prefab house (Important Value=31.97) and Delivery Time(Important Value=28.1) are almost equivalent. The majority of the average respondents are female, aged 30 - 40 years, career: government servant or business owner, with average Income of less than 50,000 Baht/month, and most concern on price. They tend to compare size as a quality aspect to price. Time for assembling and installing are not their main concern.

Downloads

How to Cite

วงศ์มหาดเล็ก ป. (2017). การศึกษานำร่ององค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อบ้าน สำเร็จรูปเพื่อผู้สูงอายุโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis). NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 353. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44274

Issue

Section

การพัฒนาที่อยู่อาศัย | Housing Development