ผลกระทบของการพัฒนาเมือง ต่อการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวภาคการเกษตร กรณีศึกษาคลองอ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • อำนาจ จำรัสจรุงผล นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน รองศาสตราจารย์ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ผลกระทบของการพัฒนาเมือง, การอนุรักษ์, พื้นที่สีเขียว, คลองอ้อมนนท์, The Effects of Urban Development, Conservation, Green Area, Klong Aom

Abstract

        งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบของการ พัฒนาเมืองต่อการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวภาคการเกษตร ตลอดจนกระบวนการปรับตัวของเกษตรกรใน พื้นที่ศึกษาเพื่ออนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้อยู่รอดท่ามกลางกระแสของการพัฒนาเมืองโดยใช้พื้นที่คลอง อ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรีเป็นกรณีศึกษา โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวความคิดความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งแวดล้อมชานเมือง ชาวสวน และทรัพยากรต้นทุน ซึ่งเชื่อมโยงกับทฤษฎีการวิเคราะห์แบบ สามเส้า

        ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ถึงแม้จะมีแผนการอนุรักษ์พื้นที่ริมคลองอ้อมนนท์ตามกฎหมาย ผังเมือง แต่พื้นที่คลองอ้อมนนท์ก็มีสิ่งเร้าและปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ทำให้ไม่สามารถอนุรักษ์พื้นที่ เกษตรกรรมได้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบหลักๆ มีสามประการด้วยกันกล่าวคือ (1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มคนจากที่อื่นๆ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบธุรกิจ (2) ปัจจัยภายใน ได้แก่แรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจของพื้นที่ ผ่านการเตรียมแผนงานและนโยบายที่เปลี่ยน พื้นที่สีเขียวในปัจจุบันให้เป็นการใช้ที่ดินแบบอื่นในอนาคต (3) ปัจจัยแฝง ได้แก่ปัจจัยเกี่ยวกับอุบัติภัย ทางธรรมชาติที่อยู่เหนือความควบคุม ซึ่งมีผลกระทบต่อ สภาพพื้นที่ราบลุ่ม และมีความเสี่ยงสูงในการ เกิดอุทกภัย นอกจากนี้การสนับสนุนและความช่วยเหลือจากภาครัฐก็เป็นเพียงแค่นามธรรม การปรับ ตัวของเกษตรกรในพื้นที่ก็ดำเนินไปตามยถากรรม รวมทั้งทุนทรัพย์ที่มีอย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถ ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สืบมาจากบรรพบุรุษต่อไปได้ จึงประสบความล้มเหลวในการอนุรักษ์พื้นที่สี เขียวภาคการเกษตรผืนใหญ่ในท้องถิ่นของตน ผลจากการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองที่มี ประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่ระดับบนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ มี การวางแผนงานที่รัดกุม มีการจัดการอย่างรอบคอบเหมาะสม เพื่อนำไปสู่เมืองที่เป็นมิตรกับทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม และสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและทรัพยากรอย่างยั่งยืน

 

The Effects of Urban Development on Conservation of Green Area: A Case Study at Klong Aom, Nonthaburi Province

Amnat Jumrusjarongpol

Ph.D. Candidate, Faculty of Architecture, Kasetsart University

Eggarin Anukulyuthathon

Associate Professor, Faculty of Architecture, Kasetsart University

        This research is a qualitative study with its aim to investigate the impacts of urban development on agricultural land conservation. In addition the study demonstrates the agriculturist’s process of adaption to survive through urban growth in Klong Aom Area, Nonthaburi Province. The methodology is based on the concept of relationship between suburb environment, agriculturists, and resource capital. This concept is connected to triangulation theory.

        The results show that conservation plan had been proposed according to urban planning legislation; however, stimulus and affecting factors have obstructed land conservation as three following main factors: 1) external factor includes newcomers’ desire of land use for residence and business purposes 2) internal factor involves economic aspect due to high demand of land use. Furthermore, economic policy tends to adjust agricultural land for other purposes, and 3) hidden factor consists of several uncontrollable variables. It has an effect on plain land form which riskily causes flood. Moreover, support and assistance from the government is concerned with understanding abstract concepts. Agriculturalists have conformed to go with the flow of society with the limited budget. As a result, local wisdom acquired from ancestors is hardly transferred to next generation. Consequently, it caused difficulties to maintain their large agricultural land. The results represent that effective urban development requires proper administration started from the policy level to local management, concise plan, careful management leading to environmentally friendly urban living concerned with the balance between development and sustainable resources.

Downloads

How to Cite

จำรัสจรุงผล อ., & อนุกูลยุทธธน เ. (2017). ผลกระทบของการพัฒนาเมือง ต่อการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวภาคการเกษตร กรณีศึกษาคลองอ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรี. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 371. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44276

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning