การประเมินโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย สำหรับชุมชนแออัดในสามเมืองสมุทร

Authors

  • กำธร กุลชล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิงหนาท แสงสีหนาท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาการออกแบบวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย, ชุมชนแออัด, การมีส่วนร่วมของท้องถิ่น, การกระจายอำนาจ, housing environment, low-income community, local participation, delegation of power

Abstract

        งานวิจัยนี้ได้รับทุนจากการเคหะแห่งชาติ เพื่อทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการจัดทำแผน พัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในสามจังหวัดปากอ่าวไทย ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ตามลำดับ รวมทั้งการเสริมสร้างสมรรถนะและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อเป็นไปตามพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

        ผลการศึกษาในภาพรวมเบื้องต้นของทั้งสามจังหวัดซึ่งมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันใน แง่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมชายทะเลคือการเป็นแหล่งรวมของแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก ทำให้เกิด ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ผิดสุขลักษณะและมีมลภาวะสูงในจังหวัดสมุทรปราการและสมุทรสาคร ขณะที่ สมุทรสงคราม มีเอกลักษณ์ของเมืองท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม จึงเกิดสภาพปัญหาของที่ อยู่อาศัยเฉพาะตัว แต่ทั้งสามจังหวัดมีบ้านเอื้ออาทรเหลือจำนวนมากเนื่องจากอุปทานไม่ตรงกับอุปสงค์ ของท้องถิ่น ทั้งๆที่ความต้องการที่อยู่อาศัยในจังหวัดสมุทรสาครมีสูงกว่าอีกสองจังหวัดถึงเกือบสิบเท่า ส่วนโครงการนำร่องในแต่ละจังหวัดมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การปรับภูมิทัศน์ การจัดให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและการอนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชน

        การดำเนินงานวิจัยในขั้นการประเมินผล พบว่าโครงการของการเคหะแห่งชาติมีความสอดคล้อง กับแผนพัฒนาต่างๆ ในทุกๆ ระดับ แต่การจัดทำแผนพัฒนาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้าง สมรรถนะและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นกลับไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างยั่งยืนเนื่องจากขาดการสืบสานอย่างต่อ เนื่องหลังจากโครงการสิ้นสุดลง รวมทั้งไมมี่การนำแผนไปสูภ่ าคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผลสรุปของงาน วิจัยได้พบว่า ปัญหา/อุปสรรคของโครงการทั้งสามจังหวัด ได้แก่ การที่ท้องถิ่นขาดความรู้และทักษะในการ วิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยด้วยตนเอง อีกทั้งการเสริมสร้างสมรรถนะด้วยการศึกษาดูงาน และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพียงไม่กี่ครั้งนั้น ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการถ่ายโอนภารกิจไปสู่ ท้องถิ่นได้อย่างถาวร ข้อเสนอแนะคือควรพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานพี่เลี้ยงที่คอยกำกับดูแลและให้ความ ช่วยเหลือด้านวิชาการและด้านเทคนิคต่างๆ ตลอดจนติดตามการประเมินผลในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

 

Housing Development Planning for Low-Income Project Evaluation in Three Samut Provinces

Kamthorn Kulachol

Professor Emeritus, Faculty of Architecture, Kasetsart University.

Singhanat Sangsehanat, Ph.D.

Assistant Professor, Faculty of Architecture, Silpakorn University.

        The main objective of this research, funded by the National Housing Authority of Thailand (NHA), is to evaluate the success of Housing Development Planning for Low-Income Projects in three provinces lying by the Gulf of Thailand, i.e. Samut Prakarn, Samut Sakorn, and Samut Songkram respectively. In order to comply with the Power Delegation Act of 1999, efforts to strengthen local aptitude in order to undertake planning and development of low-income housing by local authorities in the future were attached as a part of the said projects.

        The general pictures of the three projects reflected similarities as well as differences among the said provinces. With their proximity to the sea and their nature of industrialized settlements, Samut Prakarn and Samut Sakorn have become the hub of cheap labors from abroad serving in heavy industrial and seafood related production plants. Since decent housing for such laborers are neither available nor affordable, lodging provided by their employers are inevitably below standard in terms of sanitation, public services and physical environment. The just mentioned situations are less severe in Samut Songkram where tourism is prominent, owing to its identity as the city of culture and historic significance. Hotels, guest houses and home-stay accommodations have, therefore, become prevalent to serve tourists and hence induced housing investment by the private sector. However, the three projects have something in common, that is a considerable number of public housing units built by NHA were left unsold. It was then interpreted that the local demands do not match with the supplies. Among the three cases, Samut Sakorn has forecasted its housing demand as much as ten times over those in Samut Prakarn and Samut Songkram. In addition, a number of the pilot projects carried out in the three provinces have suggested similar short-term improvements in environmental development, landscape enhancement, public service upgrading, and conservation of local way-of-life.

        When it comes to the evaluation process of the three projects, the research team found that NHA projects met all purposes and directions laid down in various national plans as well as local plans, but the component aiming to strengthen local aptitude and secure community participation has yet to achieve sustainable success because almost none of the development plans was implemented once the projects ended. The research finding also identifies the common problems of the three projects: the local communities and local authorities need to obtain knowledge and skill to analyze data and information in the planning process. It is obvious that a few study tours and planning charrettes could never replace continuous staff training and constant monitoring/assessment of the plans in order to make local capable of carrying out low-income housing development schemes all by themselves. Finally, the recommendation for NHA’s future role is to set up local units to assist in providing knowledge and planning technical skills as well as long-run evaluations for the local communities.

Downloads

How to Cite

กุลชล ก., & แสงสีหนาท ส. (2017). การประเมินโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย สำหรับชุมชนแออัดในสามเมืองสมุทร. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 405. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44308

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning