การสำรวจต้นไม้ใหญ่ทางประวัติศาสตร์ส่วนพระราชฐานชั้นใน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี
Keywords:
การสำรวจ, ต้นไม้ใหญ่ทางประวัติศาสตร์, พระราชนิเวศน์มฤคทายวันAbstract
การสำรวจต้นไม้ใหญ่ทางประวัติศาสตร์ ส่วนพระราชฐานชั้นใน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จ.เพชรบุรี มุ่งเน้นเพื่อการสร้างองค์ความรู้ต้นทางสำหรับการอนุรักษ์บูรณะพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สอดคล้องตามพันธกิจ และแนวทางดำเนินงานของมูลนิธิฯ ที่การอนุรักษ์และบูรณะนั้นไม่สามารถ ดำเนินการอนุรักษ์เพียงแค่ตัวสถาปัตยกรรม หากจำเป็นต้องบูรณาการการอนุรักษ์ทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวมทั้งอาคารและภูมิทัศน์ของพื้นที่ ตลอดจนประวัติศาสตร์รสนิยม และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเก็บข้อมูลต้นไม้ใหญ่ทางประวัติศาสตร์มีความจำเป็นต้องเก็บบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด ในทุกมิติเพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตซึ่งเนื้อหาในการเก็บข้อมูลมีทั้งหมด 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) คุณลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (2) สุขภาวะของต้นไม้ (3) เงื่อนไขและข้อ จำกัดของตำแหน่งปลูก (4) ความเสียหายและข้อบกพร่อง โดยการลงพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เพื่อเก็บสำรวจ บันทึกภาพถ่าย ค้นหาเอกสารการดำเนินงานเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนางานสวนพระราชนิเวศน์ พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการงานสวน และผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาช่วยเหลือในงานอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่
ผลการสำรวจและเก็บบันทึกข้อมูล พบชนิดของต้นไม้ใหญ่ทางประวัติศาสตร์จำแนกตามชนิดของสายพันธุ์ได้ จำนวน 11 ชนิดพันธุ์ หากนับตามจำนวนที่ขึ้นทะเบียนนั้นจะได้จำนวนทั้งสิ้น 55 ต้น มีต้นไม้ใหญ่ที่ไม่เข้าเกณฑ์คัดกรองแต่มีนัยยะสำคัญ ด้วยเป็นการแสดงออกถึงความเป็นระบบนิเวศป่าชายหาดตามลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 ต้น คือ ขันทองพยาบาท (Suregadamultiflorum (A.Juss.) Baill.) พร้อมระดับค่าการประเมินความจำเป็น เร่งด่วนในความต้องการบำรุงรักษาและการตัดแต่งเพื่อสุขภาวะที่ดีของต้นไม้ใหญ่ทางประวัติศาสตร์
The Historic Tree Survey of Royal Inner Court Mrigadayavan Palace, Phetchaburi Province
Phonkrit Kritayopas
Lecturer, Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institue of Technology Ladkrabang
The historic tree survey of royal inner court Mrigadayavan Palace, Phetchaburi Province focused to created primary knowledge database for conservation and restoration policy according to mission and the operational guideline of Mrigadayavan Palace foundation. Conservation and restoration cannot be performed just preserving architecture but need to integrated of all the elements, including building, landscape, history of culture and history of taste are relevant to the reign of King Rama VI. Inventories of the historic trees must records information of all dimensions to maximize the benefits for data analysis in the future. Content of the achievement contains of 4, botanical characteristic, tree health, site conditions and cultivated limitation, damage and defects. Collecting by site exploring, take a photo, interviewing and discuss with experts to assist the trees conservation at Mrigadayavan Palace.
The survey found species of trees, 11 species classified by the type, and 55 trees if were counted by numbers, and has found one of the big tree is Suregadamultiflorum (A.Juss.) Baill. that does not in the criteria required but the reason to register this tree because of it is a pioneer tree species in beach plantation of Mrigadayavan Palace under the guidance of experts. Also has urgently Level need to evaluate maintenance requirements and trimming.