พลวัตของเรือนพื้นถิ่นไทใหญ่ ในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์: ไทย เมียนมาร์ จีน อินเดีย
Keywords:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, ไทใหญ่, รัฐฉาน, อินเดีย, ไทย, เมียนมาร์Abstract
บทความวิจัยนี้สนใจศึกษาเปรียบเทียบเรือนพื้นถิ่นในชุมชนไทใหญ่ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์ อันประกอบด้วย ไทย เมียนมาร์ จีน และอินเดีย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือถึง 28 องศาเหนือ กรณีศึกษาประกอบด้วยเรือนไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของไทย ในเชียงตุง รัฐฉาน ของเมียนมาร์ ในเมืองมาวแคว้นใต้คงของจีน และในเมืองศิวะสาคร รัฐอัสสัมของอินเดีย โดยต้องการค้นหาว่าเรือนไทใหญ่ในพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้มีความเหมือนหรือความต่าง อย่างไรบ้าง วัฒนธรรมหลักในแต่ละพื้นที่สามารถทอดเงาปกคลุมอัตลักษณ์เดิมให้ผันแปรไปได้ หรือไม่อย่างไร ผลการศึกษาปรากฏว่าเรือนไทใหญ่ในเมืองแม่ฮ่องสอนของไทย และในเชียงตุง รัฐฉาน ของเมียนมาร์ ซึ่งอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมไทยวน ไทเขิน ซึ่งคล้ายคลึงกันกับวัฒนธรรมการอยู่อาศัย ของไทใหญ่ อีกทั้งศาสนาและความเชื่อก็เป็นพุทธศาสนาแบบหินยานเช่นเดียวกัน มีความแปรเปลี่ยนไปจากเดิมน้อยมาก ยังคงรูปแบบเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาจั่ว หรือจั่วปั้นหยา บนผังพื้นที่เป็นระบบเดียวกันคือบันไดขึ้นหน้าเรือนไปยังชั้นบนสู่ชานหน้าเรือนใต้หลังคาคลุม และเข้าสู่โถงภายใน ที่แบ่งเป็น 2 ฟากฟากหนึ่งเป็นโถงกลางที่ประดิษฐาน “เข่งพะลา” อีกฟากหนึ่งเป็นส่วนนอนที่มี ปริมาณมากน้อยตามขนาดของครอบครัว และปิดท้ายด้วยส่วนครัวและชานซักล้าง เรือนไทใหญ่ในไทย และเมียนมาร์ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากเรือนไทยวน ไทเขิน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมหลักของพื้นที่ แต่เนื่องจากทั้งวัฒนธรรมหลักและรองต่างๆ ก็มีลักษณะร่วมกันมากมาย ทำให้เรือนไทใหญ่ในไทย และเมียนมาร์ต่างก็ยังคงรูปลักษณ์เดิมอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่เรือนไทใหญ่ในเมืองมาว แคว้นใต้คง สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมหลักของจีนยังสามารถคงรูปแบบ ผังพื้น และรูปทรงที่เป็นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูงอยู่ได้เป็นบางกลุ่ม หลังคายังคงเป็นจั่วปั้นหยา แต่ความเอียงลาดของหลังคาตํ่าแบบเรือนจีน และปัจจุบันนิยมกั้นชั้นล่างเพื่อใช้งานต่อเนื่องกับ พื้นดินเช่นเดียวกับเรือนจีนด้วย วัฒนธรรมการอยู่แบบจีนครอบคลุมเรือนไทใหญ่ไปกว่าครึ่ง ส่วนเรือนไทอาหมหรือไทใหญ่ในอินเดียนั้น ปรากฏว่าวัฒนธรรมฮินดูซึ่งเป็นกระแสหลักในพื้นที่ได้ทอดเงาครอบคลุมเรือนอย่างมืดมิดไม่มีเค้ารูปของเรือนดั้งเดิมที่เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงเลย แม้แต่น้อย กลับกลายเป็นเรือนหลังคาจั่วชั้นเดียวติดพื้นดิน มีชายคาคลุมระเบียงข้างเรือน ตัวเรือนเข้าจาก ระเบียงด้านข้าง ภายในตัวเรือนแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โถง ส่วนนอน และครัว เรียงกันตามลำดับ ความยาวของเรือน ภายในโถงไม่มี “เข่งพะลา” แบบเรือนไทใหญ่อีก 3 แหล่งที่ตั้งที่ได้ศึกษามา ผนังเรือนเป็นดินดิบฉาบทับโครงไม้ไผ่เช่นเดียวกับเรือนอินเดียและเนปาล หลังคามุงหญ้า เห็นได้ชัดว่า วัฒนธรรมกระแสหลักในแต่ละพื้นที่ได้ทอดเงาครอบคลุมลักษณะของเรือนไทใหญ่ในไทย เมียนมาร์ จีน และอินเดีย ตั้งแต่ครอบคลุมน้อยในไทยและเมียนมาร์ จนถึงมากในจีน และมากที่สุดในอินเดีย
The Dynamic of Tai Yai Vernacular Houses in Southeast Asia: Thailand, Myanmar, China and India
Ornsiri Panin, Professor Emeritus
Faculty of Architecture, Kasetsart University
This research paper emphasized on the comparative study of the Tai Yai vernacular houses in Southeast Asia, in the vicinity of the latitude 18. N to 28. N. The case studies contained the Tai yai vernacular house in Maehongson Thailand, Kengtung, Myanmar, Muang Mao Dehong, Repablic of China and Siwasakorn, Assam India. Thus of find the similarity and difference of the Tai yai vernacular houses. The study found that the major culture of Tai yuan and Tai Kern in Thailand and Myanmar do not play a great role to the change of Tai yai vernacular houses. The appearance is still the timber house with timber structure buit on stilts. The rectangular floor plan with “Buddha Shelf” and sleeping area which ended with the kitchen space respectively. Covered with the hipped-gable roof form. The Tai Yai vernacular houses in Muang Mao, Dehong, The Republic of China were overshadowed with major Chinese culture. More degree of change than the Tai Yai in Thailand and Myanmar. Even if the floor plan and overall house form still contained the old appearance of the timber house built on stilts and also contained rectangular floor plan with the same approach us the Tai Yai in Thailand and Myanmar, also have “Buddha Shelf” in the common room, but lots of houses changed it’s appearance by building up the ground floor to use as two stories house instead of house built on stilts. The degree of the hipped gable roof transform from high to low angle which was quite similar to the Chinese house. Lastly the Tai Ahom or Tai Yai in India which was located in the Hindu Culture, have absolutely transformed to the Hindu house with one story rectangular floor plan with side verandah covered with simple gable roof. The entrance of the house approach from the side verandah to the common room and bedroom, no “Buddha shelf” the house wall were mudded-wall with the insertion of bamboo structure. The old Tai Yai vernacular house appearance didn’t exist at all.
In comparison with 4 case studies in Thailand, Myanmar China and India. The remaining of Tai Yai vernacular houses appearance exist on Thailand and Myanmar, Less in Dehong, Republic of China and none in Assam, India.