ไม้และอิฐในการก่อสร้างเรือนชาวไทเหนือ ชุมชนบ้านหนองเงิน เชียงตุง เมียนมาร์

Authors

  • เจนยุทธ ล่อใจ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • กฤษฎา อานโพธิ์ทอง นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อดิศร ศรีเสาวนันท์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

อิฐ, ไม้, โครงสร้าง, วัสดุ, หน้าที่, รูปทรง, ที่ว่าง, รูปลักษณะ, ภูมิปัญญา, เรือนพื้นถิ่น, Brick, Wood, Timber Structure, Material, Tasks, Form, Space, Character, Wisdom, Vernacular House

Abstract

        หมู่บ้านหนองเงิน เมืองเชียงตุง สหภาพเมียนมาร์เป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาวไทเหนือที่ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองห่างจากศูนย์กลางของเชียงตุงไม่มากนัก จากการที่ทางคณะผู้ศึกษาได้มีโอกาสเข้าทำการสำรวจภาคสนามได้สังเกตเห็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้หมู่บ้านหนองเงินนี้มีความแตกต่างจากหมู่บ้านอื่นๆ คือ การเลือกใช้วัสดุซึ่งสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนจากวัสดุไม้และอิฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อิฐของหมู่บ้านหนองเงินนี้เป็นลักษณะของอิฐดินดิบซึ่งถูกนำมาใช้ทั่วไปในทุกองค์ประกอบของหมู่บ้าน ประกอบกับการนำอิฐดินดิบนี้มาใช้ร่วมกับโครงสร้างไม้ของเรือนซึ่งเป็นวัสดุหลักแต่เดิมทำให้เกิดลักษณะของการประกอบอยู่ร่วมกันของวัสดุทั้ง 2 ที่มีความน่าสนใจศึกษาถึงมูลเหตุและลักษณะความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น

        จากการศึกษาข้อมูลต่างๆ ในเบื้องต้นสันนิษฐานได้ว่า สาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านหนองเงิน เลือกใช้วัสดุอิฐดินดิบนี้เป็นองค์ประกอบหลักทางสถาปัตยกรรมอาจเพราะเนื่องมากจากความที่ คนในชุมชนเป็นกลุ่มชนชาวไทเหนือซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะรับเอาวัฒนธรรมการปลูกสร้างเรือนมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีนอย่างลักษณะของบ้านดินหรือเรือนก่ออิฐปลูกสร้างติดดินในรูปแบบคล้ายคลึงกัน ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งสรุปความได้จากการสัมภาษณ์เจ้าของเรือนคือการที่ไม้นั้นกลาย เป็นวัสดุที่หาได้ยากขึ้นนั่นเอง

        นอกจากนี้ ในรายละเอียดของการศึกษาพบว่าการผสมผสานกันในรูปแบบลักษณะต่างๆ ของวัสดุไม้และอิฐในหมู่บ้านหนองเงิน แบ่งได้เป็น 2 ประเด็นหลักๆ ด้วยกัน คือ คุณลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เกิดจากส่วนผสมระหว่างวัสดุไม้และอิฐดิบในระดับผังของบ้านและตัวเรือน พบเห็นได้จากลักษณะของการสร้างแนวกำแพงอิฐเพื่อกำหนดขอบเขตซึ่งส่งผลต่อการปิดล้อมพื้นที่ ให้สอดรับกับการใช้สอยและกิจกรรม โดยสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ การก่อสร้างแนวกำแพงอิฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างไม้เดิม, การก่อเพื่อทดแทนโครงสร้างไม้เดิม และการก่อสร้างเรือนหลังใหม่จากอิฐทั้งหลัง ส่วนเนื้อหาในอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของรายละเอียด และเทคนิคต่างๆ ของการอยู่ร่วมกันของวัสดุทั้ง 2 ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบและลักษณะเฉพาะ ทางสถาปัตยกรรมจากข้อจำกัดทางธรรมชาติของวัสดุ โครงสร้างการรับแรง และความสอดคล้องต่อ รูปแบบดั้งเดิมของเรือน

 

Wood and clay brick in construction of Tai-Nua’s houses Nhong-Nguen village, Kengtung, Myanmar

Adisorn Srisaowanan, Ph.D. Candidate

Janeyut Lorchai, Ph.D. Candidate

Kritsada Arnprothong, Ph.D. Candidate

Vernacular Architecture Program

Faculty of Architecture, Silpakorn University

        Nhong-Nguen is a village of Tai-Nua community which located on the outskirts of Kengtung (or Chiang Tung), a town of the Republic of the Union of Myanmar. According to the fieldwork surveying, there is a noticeable character of the dwelling that is different from the other villages. In this village, “clay brick” and “wood” were used together as construction materials, these notices became a very interesting question, particularly in terms of their origin and the relationship between both materials From the information and environmental researched, we could hypothesize that because of the influent of Southern China culture that clay brick is regularly used for building houses. Besides, from interviewing with some local dwellers, wood is much more difficult to buy and higher cost in present.

        In details of studying, two main issues that show the relationship of clay brick and wood are revealed. First, the planning character of the house that comes from using both materials. Clay brick wall was built to define functional space by 3 methods that are “wall was built without joining the existed wood structure”, “wall was built to replace the existed wood structure” and “wall was built as a new house. Another issue is about details and techniques of construction that influence to the character of building by its natural qualification in terms of strength and well combining with the former structure.

Downloads

How to Cite

ล่อใจ เ., อานโพธิ์ทอง ก., & ศรีเสาวนันท์ อ. (2016). ไม้และอิฐในการก่อสร้างเรือนชาวไทเหนือ ชุมชนบ้านหนองเงิน เชียงตุง เมียนมาร์. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 28, 41. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44333

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment