มรดกพุทธศิลปสถาปัตยกรรม วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
Keywords:
วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช, วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช, ผังบริเวณ, ศิลปสถาปัตยกรรมไทย, มรดกทางสถาปัตยกรรม, มรดกพุทธศาสนสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม, มรดกโลก, มรดกโลกทางวัฒนธรรม, บัญชีรายชื่อชั่วคราวAbstract
“ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” มุ่งทำการศึกษารูปแบบ ศิลปสถาปัตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยละเอียด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบูรณาการทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ด้วยการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ สอบทวนกัน เพื่อให้ทราบถึงประวัติศาสตร์การก่อสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมกับการสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมต่างๆ ในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยละเอียด การจัดทำฐานข้อมูลภาพถ่ายปัจจุบัน การค้นคว้าข้อมูลจากภาพถ่ายเก่า ตลอดจนการจัดทำแบบสถาปัตยกรรม และแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สามมิติ เพื่ออธิบายรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเส้นทางสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และการสื่อความหมายเพื่อการท่องเที่ยวในที่นี้ ได้ดำเนินการศึกษาอาคารสำคัญภายในผังบริเวณวัดพระบรมธาตนครศรีธรรมราช เพื่อเรียบเรียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนคำอธิบายทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม รวมทั้ง จัดทำแบบสถาปัตยกรรม และแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สามมิติ ทั้งสิ้น 8 อาคาร คือ องค์พระ บรมธาตุเจดีย์, พระระเบียงทับเกษตร, พระวิหารเขียน, พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์ หรือวิหารพระ ทรงม้า, พระวิหารธรรมศาลา, พระระเบียงคต, พระวิหารหลวงโดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อนำเสนอข้อมูล ข้อสังเกต และองค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบซึ่ง เกี่ยวเนื่องกับรูปแบบสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม รวมทั้งการจัดทำแบบ สถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สามมิติ จากข้อมูลการสำรวจภาคสนาม เพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ต่อเนื่องในแง่ของการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนนำไปสู่การจัดการการสื่อความหมายแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการ เรียนรู้ และนำไปประยุกต์สู่การทำเอกสารประกอบการพิจารณาเพื่อเสนอ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช (Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat)”2 เพื่อ ประกาศยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในโอกาสต่อไป
Buddhism and Architectural Heritage of Wat Phra Borom That Nakhon Si Thammaraj
Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D., Lecturer
Department of Architecture
Faculty of Architecture, Silpakorn University
All components in the site plan of the temple, comprising the Chedi, Phra Rabiang Tub Kaset, Phra Viharn Khian, Phra Maha Phi Ne Ka Sa Rom (Viharn Phra Song Maa), Phra Viharn Dham Sala, the gallery, and the main Viharn, were studied in order to prepare historical trail, glossary of architecture and arts, and 3D models.
The collected data concerns architectural forms, architectural history, and arts. Data from the survey and fields studies can be helpful in terms of cultural heritage management, conservation, and interpretation. In addition, the document is prepared so as to nominate Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat as the World Heritage.
Key Word: Wat Phra Boromthat Nakorn Sri Thamaraj / Wat Phra Mahathat Woramahawihan / Nakhon Si Thammarat / Thai Architecture and Related art / Architectural heritage / Buddhist Architectural Heritage / History of Architecture / World Heritage, World Cultural Heritage / tentative list