พัฒนาการของรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง
Keywords:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย, เรือนภาคใต้, พัทลุง, วัฒนธรรมในการอยู่อาศัย, พัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรม, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา, ทะเลสาบสงขลา, Vernacular housing, traditional house in the South, Pattalung, living culture, architectural developementAbstract
บทความ “พัฒนาการของรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในพื้นที่จังหวัดพัทลุง” เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้” ซึ่งทำการศึกษาชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง ซึ่งจากการศึกษาได้สังเคราะห์ข้อมูลสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสิ้น 58 หลัง ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประเด็น คือ1. อาชีพของเจ้าของเรือนกรณีศึกษามีทั้งการทำนา การทำสวนผลไม้ การทำสวนยาง การประมง การค้า ซึ่งในอดีตนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีอาชีพหลักที่ค่อนข้างชัดเจน และส่งผลกับเรือนให้มีแบบแผนที่ชัดเจน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่สามารถจำแนกเรือนออกเป็นอาชีพได้อย่างตรงไปตรงมานัก เนื่องจากแต่ละครัวเรือนนั้นได้ประกอบอาชีพที่หลากหลายแตกต่างไปจากบริบทของอดีตโดยสิ้นเชิง
2. จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเรือนที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกเรือนออกได้ตามบริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม 2 ประเด็น คือ “สถาปัตยกรรม พื้นถิ่นที่อยู่อาศัยที่แสดงความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง” และ “รูปแบบ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีพัฒนาการของรูปแบบภายใต้บริบทแวดล้อมของพื้นที่”
3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในระยะแรกนั้นได้รับรูปแบบจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง แต่เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ อาทิ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วัสดุก่อสร้างในท้องถิ่น และวิถีวัฒนธรรมนั้นแตกต่างจากภาคกลางโดยสิ้นเชิง จึงทำให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่รับมานั้นไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ เมื่อมีการสร้างเรือนใหม่จึงมีการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ รูปทรงหลังคาที่ระยะแรกนั้นใช้ “หลังคาทรงจั่ว” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หลังคาทรงปั้นหยา” ซึ่งเป็นรูปแบบหลังคาที่ป้องกันแดดฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่ว เนื่องจากในพื้นที่ ศึกษานั้นเป็นพื้นที่มีอากาศแปรปรวน มีลมและฝนรุนแรง และมีทิศทางการสาดไม่แน่นอน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในอดีตจะให้ความสำคัญ กับการหันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก และให้ห้องนอนอยู่ทางด้านทิศใต้ และเปลี่ยนแปลงคติ ความเชื่อดังกล่าวในภายหลัง เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรทั้งทางนํ้า และทางบก
Development of Vernacular Dwelling House in Songkhla Lake Basin, Pattalung Province
Isarachai Buranaut, Ph.D.Candidate
Kullaphut Seneevong Na Ayudhaya
Researcher
A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing
for Knowledge Management in the South of Thailand Research Program
“Development of Vernacular Architecture in Songkhla Lake Basin, Pattalung Province” is a part of “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management in the South of Thailand” which studies the local communities in the area of Songkhla Lake Basin in Pattalung Province, then synthesizes the data on vernacular architecture, comprising 58 houses. Significant aspects are as follows:
1. The residents are mostly agriculturalists, farmers, fishermen, and merchants. Occupation used to play important role on housing, so houses are different. However, at present, due to changes in social contexts, members of each house work in different fields, so houses are not very different.
2. Social contexts have affected forms of vernacular architecture into two aspects: vernacular architecture related to that in the central region and vernacular architecture developed through changes in social contexts.
3. Firstly, vernacular dwelling house in Pattalung related to that in the central region, but then developed because of factors like geographical aspects, climate, construction materials, culture, and ways of life. Hence, later, dwelling has been adapted so as to go compatibly with the surroundings. The most clearly noticed example is the roof. That is, there used to be gable, but then it was replaced by hip roof, because of the monsoon. In addition, building orientation has also changed. In other words, houses which face the east with the bedroom in the south has changed in order to be compatible with circulation routes.