สถาปัตยกรรมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพจากอยุธยาถึง ต้นรัตนโกสินทร์ : กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรมเฉพาะกิจ

Authors

  • วรินทร์ รวมสำราญ

Keywords:

พระเมรุมาศ, พระเมรุ, Phra Meru, Royal Cremation pavilion

Abstract

พระเมรุ เป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่รวมความเป็นเอกของสถาปัตยกรรมไทยและศิลปะเกี่ยวเนื่องในทุกๆด้าน เนื่องจากเป็นอาคารประกอบพระราชพิธีของกษัตริย์และพระบรมวงศ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงพระราชอำนาจแห่งเทวราชาและคติความเชื่อด้านต่างๆ จึงถ่ายทอดออกมาเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่ต้องก่อสร้างและรื้อถอนได้เร็ว แต่ทว่าสามารถแสดงออกถึงแนวความคิดและการใช้สอยได้อย่างครบถ้วน การสร้างพระเมรุได้อ้างอิงถึงรูปแบบของพระเมรุในสมัยอยุธยาอันเป็นต้นเค้าของพระเมรุในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งถึงงานพระเมรุในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระเมรุฐานานุศักดิ์สูงสุดหลังสุดท้ายที่ได้ถูกก่อสร้างขึ้นตามกระบวนทัศน์แบบเก่า ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวอยู่บนเส้นทางของการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวทั้งทางกายภาพ และกระบวนทัศน์ให้สอดรับกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและองค์ความรู้ใหม่ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จวบจนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงได้แสดงออกอย่างเต็มภาคภูมิผ่านพระเมรุมาศของพระองค์ที่ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยต่อความเปลี่ยนแปลงด้วยพระองค์เอง

จากพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ถึงงานพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระเมรุทั้ง ๒ องค์นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ซึ่งดำรงสถานภาพแห่งสมมุติเทวราชสูงสุดทั้งสองพระองค์ แต่รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระเมรุสำหรับการประกอบพระราชพิธีกลับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การดังกล่าวจึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึง การปรับตัวในการสร้างสรรค์พระเมรุ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมฐานานุศักดิ์สูงโดยดำเนินอยู่บนเส้นทางตามกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป

 

Architecture in the Royal Cremation from Ayudhya to Early Rattanakosin Periods: the Change of Thinking and Creating Process of Specific Architecture

Varin Ruamsamran

        “Phra Meru,” the royal cremation pavilion, is the creation of Thai architecture as well as other types of related art and skill since it is used for the royal cremation of kings and members of the royal families. As a result, it needs to reflect the power of being the king, the ruler, and beliefs. The royal cremation pavilion must be easily removed as it is occasionally used. Nevertheless, it also reflects the notion of creation and use. 

         The construction of the royal cremation pavilion during Early Rattanakosin Period was based on that of Ayudhya Period. The royal cremation pavilion of King Rama IV is the greatest one following the traditional style. However, due to the change so as to keep Siamese society up with coming modern social and cultural contexts, economic situation, political system, and the acceptance of the new types of knowledge, especially during the reign of King Rama V, the creation of the royal cremation pavilion was also affected, along with the comments made by the King himself.

        From the royal cremation pavilions of both King Rama IV and V, who were believed and symbolized as god, it was found that they are significantly different in terms of architecture. This well reflects the process of thinking which then led to the accomplishment of architectural works.


Downloads

How to Cite

รวมสำราญ ว. (2016). สถาปัตยกรรมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพจากอยุธยาถึง ต้นรัตนโกสินทร์ : กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรมเฉพาะกิจ. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 23, 39. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45080

Issue

Section

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย | History of Architecture and Thai Architecture