โครงสร้างและองค์ประกอบการวางผังออกแบบพื้นที่ริมน้ำเพื่อฟื้นฟูศูนย์กลางเมืองเก่า: กรณีเมืองอุบล

Authors

  • สิทธิพร ภิรมย์รื่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

พื้นที่ริมน้ำ, ศูนย์กลางเมืองเก่า, การฟื้นฟูเมืองเก่า, โครงสร้างและองค์ประกอบการวางผังและออกแบบ, Waterfront Area, Old City Center, Redevelopment and Revitalization, Structure and Element of Planning and Design

Abstract

        ปัจจุบันชุมชนเมืองที่มีการตั้งถิ่นฐานมาช้านานมักจะเข้าสู่สภาวะถดถอยและตกต่ำทั้งทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจซึ่งก็เป็นวงจรตามปกติหลังจากได้ผ่านยุคที่เจริญเฟื่องฟูและมั่งคั่งมาเป็นศตวรรษแล้ว สาเหตุหลักก็เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการคมนาคมขนส่งและกิจกรรมการค้าและบริการที่เคลื่อยย้ายออกไปสู่บริเวณชานเมืองที่มีความเหมาะสมกว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาทั่วโลกได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูบูรณะเมืองเก่าให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งโดยการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำให้เป็นตัวเร่งกระตุ้น (Catalyst) การฟื้นฟู ในขณะที่องค์กรปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาเมืองมากขึ้นได้ตื่นตัวและหันมาใช้แนวทางดังกล่าวเป็นกลยุทธในการฟื้นฟูเมือง แต่ในขณะเดียวกันองค์กรบางแห่งก็ยังยึดติดกับแนวทางเดิมที่ใช้วิธีการเก่าๆ ในการพัฒนาเมือง เช่น การตัดถนน ก่อสร้างท่อระบายน้ำ และเขื่อนป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งรวมถึงเทศบาลนครอุบลราชธานี ด้วยสาเหตุดังกล่าวบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหา หลักการ แนวคิด และทฤษฎีของการวางผังและออกแบบโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ เพื่อการฟื้นฟูบูรณะศูนย์กลางเมืองเก่าที่มีลักษณะคล้ายกับเมืองอุบล ซึ่งจะนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการพัฒนาที่ได้พิสูจน์แล้วว่าประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ในการศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์โครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ ประกอบกับการสำรวจภาคสนามโดยผู้เขียน ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2520 สะสมมาจนถึงปัจจุบัน

        จากการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำทั้ง 12 แห่ง สรุปได้ว่าทฤษฎีของการวางผังและออกแบบพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ เพื่อการฟื้นฟูบูรณะศูนย์กลางเมืองเก่ามีสาระสำคัญ คือ โครงสร้างและส่วนประกอบหลักประกอบด้วย (1) เส้นทางสัญจรหลักได้แก่ทางเดินริมแม่น้ำ (2) การใช้ประโยชน์ที่ดินและกิจกรรมหลักได้แก่ประเภทพื้นที่เปิดโล่งเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (3) กิจกรรมสนับสนุนได้แก่สิ่งอำนวยความสดวกสาธารณะ (Amenities) องค์ประกอบของการวางผังและออกแบบ ด้านการสัญจรคือ (1) ทางเดินริมน้ำขนาดใหญ่และกว้างขวาง (2) ถนนบริการและที่จอดรถ (3) ทางลงสู่แม่น้ำ (4) การออกแบบที่ไร้อุปสรรคเพื่อการเคลื่อนไหว ด้านกิจกรรมหลัก อาคารและสิ่งดึงดูดความสนใจ คือ (1) ลานพื้นแข็งเอนกประสงค์เพื่อกิจกรรมทางวัฒนธรรมและนันทนาการ (2) พื้นที่เปิดโล่งสีเขียว (3) จุดรวมความสนใจ (4) อาคารเอนกประสงค ์(5) ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ด้านกิจกรรมสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก คือ (1) จุดชมวิวและศาลาโถงขนาดเล็กสำหรับการพักผ่อน (2) อุปกรณ์ประกอบถนนและสนาม (3) ซุ้มขายของที่ระลึก เครื่องดื่ม ร้านอาหารและ ห้องน้ำ (4) เขื่อนป้องกันน้ำท่วมและตลิ่งพัง และ(5) ระบบระบายน้ำฝน

 

Structures and Elements of Waterfront Area Development Planning and Design for Revitalization of An Old City Center: A Case of Ubol City

Sitthiporn Piromruen
Associate Professor, Faculty of Architecture, Silpakorn University

        Most urban areas that have been settled and expanded continuously for a long period are now in the era of recession and decline, physically and economically, As a matter of fact this is a normal cycle of urbanization after a stage of wealth and flourish for many decades. It was found that the main causes for such decline are changes in transportation modes, as well as shifting of commercial, business and service activities from the old centers to the suburbs which are more suitable for new developments.

        In the past 20 years, many cities and towns around the world have tried vigorously to revitalize old and deteriorating areas in the centers aiming to bring back prosperity by using various waterfront redevelopment strategies as a catalyst for revitalization. However, as many local administration authorities in Thailand which were given more roles and duties to develop their own territories are using many new and creative strategy and means in achieving such goal and objective, some municipal authorities including Ubol Municipality are still utilizing obsolete and ineffective strategy and means such as constructing roadways for cars, introducing storm drainage pipelines and retaining wall for flood prevention. Therefore, the objective of this paper is to search for innovative principles, concepts and theories for planning and design of waterfront redevelopment projects as a strategy and means to revitalize old and declining areas in the center such as in Ubol City. In order to find the solution that is proven successful, documentary research and field survey by the researcher, accumulating from 1977 up to present, are employed as a research methodology

        From a study of 12 waterfront redevelopment projects worldwide, it can be concluded that recommendation for revitalization of old city center are as follow: Principle structure and components include (1) the main circulation which is the
waterfront promenade, (2) major uses and activities of the waterfront should be green open spaces and recreation areas and (3) supporting activities that use public facilities, utilities and amenities. Elements of site planning and design in the circulation category are (1) wide and spacious waterfront promenade, (2) service roads and parking lots, (3) staircase and path to reach the river and water, and (4) universal design for pedestrian movement circulation. In providing main activities, buildings and magnets, (1) hard landscape multi-purpose areas for cultural and recreation activities, (2) green open spaces, (3) focal points, (4) multi-purpose buildings, and (5) contemporary artworks should be located for convenient use. Moreover, supporting facilities, utilities and amenities such as (1) viewing point observation spots and small pavilions for sitting, (2) durable lawn and street furniture, (3) kiosks, gift shops, snack bars, restaurants, and toilets, as well as (4) retaining walls for protecting a land slide and (5) a storm drainage system and facilities are also recommended to be installed throughout in redeveloping waterfront areas.


Downloads

How to Cite

ภิรมย์รื่น ส. (2016). โครงสร้างและองค์ประกอบการวางผังออกแบบพื้นที่ริมน้ำเพื่อฟื้นฟูศูนย์กลางเมืองเก่า: กรณีเมืองอุบล. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 23, 151. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45092

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning