แนวคิดชุมชนเมืองที่พอเพียง: การออกแบบชุมชนเมืองที่ยั่งยืนในรูปแบบของไทย
Keywords:
การพัฒนาอย่างยั่งยืน, เศรษฐกิจพอเพียง, การออกแบบชุมชนเมือง, Sustainable Development, Sufficiency Economy, Urban DesignAbstract
ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้มีแนวโน้มที่จะนำกระบวนทัศน์ของ “ทฤษฎีการพัฒนาทางเลือก” เข้ามาใช้ในการพัฒนาชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น โดยที่ชุมชนเมืองในตะวันตกนั้นมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเมืองตามแนวทางของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยมี “ชุมชนเมืองที่ยั่งยืน” เป็นผลผลิตที่เป็นรูปธรรมจากแนวคิดการพัฒนาดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยนั้น การพัฒนานับตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ได้มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการพัฒนามาสู่การพัฒนาทางเลือกตามแนวทางของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มากยิ่งขึ้น หากแต่ยังมิได้ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในชุมชนเมือง เฉกเช่นชุมชนเมืองที่ยั่งยืนในตะวันตก
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าหาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาอย่างยั่งยืนและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีชุมชนเมืองที่ยั่งยืนซึ่งเป็นรูปธรรมของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชนเมืองของตะวันตกเป็นพื้นฐานในการเทียบเคียง เพื่อค้นหาและเสนอแนะเป็นแนวทางการออกแบบชุมชนเมืองที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นรูปธรรมของการพัฒนาชุมชนเมืองที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของไทย
จากการศึกษาพบว่า “ความยั่งยืน” และ “ความพอเพียง” มีลักษณะที่สอดคล้องกันอยู่บางประการ กล่าวคือ ทั้งความยั่งยืนและความพอเพียงล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เกิดขึ้นเพื่อถ่วงดุลการพัฒนาที่สุดโต่งตามแบบทฤษฎีการพัฒนากระแสหลัก สามารถสรุปได้ว่า “ความยั่งยืน” นั้นกินความหมายกว้างกว่า “ความพอเพียง” โดยมีนัยว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดความพอเพียงย่อมนำไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด จึงสามารถกล่าวได้ว่าความพอเพียงคือความยั่งยืนรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นความยั่งยืนในรูปแบบของไทย ซึ่งมีคุณลักษณะและเงื่อนไขเฉพาะที่แตกต่างจากความยั่งยืนในรูปแบบของตะวันตก จากหลักการดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การสังเคราะห์และประมวลผลเป็น “ชุมชนเมืองที่พอเพียง” อันเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนเมืองอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบททางด้านต่างๆ ของไทย อันจะนำมาซึ่งชุมชนเมืองที่มีความยั่งยืนในรูปแบบของไทยเอง
The Urban Sufficiency Concept : A Sustainable Urban Design in Thai Pattern
Jaksin Noyraiphoom
Lecturer, Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
At the present time, there are trends in many countries referring as Alternative Theory of Development to their urban development. The western communities have developed their cities on the basis of sustainable development. As a result of the development, Sustainable City is the considerable product. After the economic crisis in 1997, Thailand has adjusted the paradigm of urban development to the alternative theory on the concept of Sufficiency Economy Theory, but there is still no true action as clear cut as in western sustainable cities.
This article is a study about the relation between the Sustainable Development and the philosophy of Sufficiency Economy Theory based, on the sustainable city ideas of the western countries to present an opinion of physical design that suites to sufficiency economy, based on the integration of sufficiency economy and urban design in Thai contexts.
According to the study, sustainability and sufficiency are resembled on the point of objection. Those are used to balance the extreme development by the Mainstream Development Theory. Nevertheless, sustainability is more defined than sufficiency. Whenever sufficiency occurs, it leads to sustainability. As the circumstance, sufficiency is one of the sustainability ways of Thai living which is specific and different from the western style. According to this concept, it can lead to synthesis and develop to create “ Urban Sufficiency Concept.”