Cultural Ethnoecology in Petchburi Basin
Keywords:
cultural ethnoecology, community ecosystem, local wisdom, identity, way of life, นิเวศวิทยาวัฒนธรรม, ระบบนิเวศชุมชน, ภูมิปัญญาพื้นถิ่น, เอกลักษณ์, วิถีชีวิตAbstract
This research paper focuses on the interrelation of ecology, way of life of various ethnic groups, and dwellings of the people in Petchburi Basin especially on the lower part of the Petchburi River in the area of Tayang, Banlad, Muang and Banlaem Districts. With diversity of topography and natural resources especially the tranformation of water from fresh water to brackish and to salt water in combination with diversity of ethnic groups besides the Siam Thai, it was found that generally the transformation of water and topography are the most important features for selecting settlement place of various ethnic groups in Petchburi. Every ethnic group still settles harmoniously with the Thai, both socially and physically. The differentiation of settlement selection on various contexts has created local wisdoms which were gradually transformed to be each ethnic group’s identity. Very tight involvement between ecological system, topography, social condition of the community and the way of life creates community ecosystem which causes the creation of local wisdom.
อรศิริ ปาณินท์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทความวิจัยนี้เน้นให้เห็นความสัมพันธ์อันแนบแน่นของระบบนิเวศและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง ในเขตของอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมืองเพชรบุรี และอำเภอบ้านแหลม เพื่อศึกษาถึงความผสมผสานในความหลากหลายของภูมิลักษณ์และทรัพยากรชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแปรเปลี่ยนของคุณสมบัติของน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีที่มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม และความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำเพชรบุรี การศึกษานี้ได้พบว่า ความแปรเปลี่ยนของคุณสมบัติของน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี และระบบนิเวศเป็นปัจจัยหลักในการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานตามลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี แต่ยังคงมีปฏิพัทธ์สัมพันธ์กับชุมชนไทยดั้งเดิมทั้งในเชิงกายภาพและสังคม การเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทที่ต่างกันบนฐานของทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศก่อให้เกิดภูมิปัญญาของแต่ละกลุ่มซึ่งค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ความสัมพันธ์อันแนบแน่นของวิถีชีวิตของแต่ละชุมชนต่อระบบนิเวศได้ก่อให้เกิดระบบนิเวศชุมชนและภูมิปัญญาพื้นถิ่น