Shophouses in Phetchaburi: A Community-based Approach to Conservation and Tourism

Authors

  • Duang-ngern Suephakdee Faculty of Management Science, Silpakorn University

Keywords:

community based tourism, vernacular shophouse, self-sufficient economy, buddhist economics theory, เรือนค้าขายพื้นถิ่น, เศรษฐกิจพอเพียง, พุทธเศรษฐศาสตร์, จังหวัดเพชรบุรี, การจัดการการท่องเที่ยว

Abstract

        Throughout the vernacular shophouses in Thailand there are places worth keeping because they enrich our lives - by helping us understand the past, by contributing to the richness of the present environment. In Phetchaburi, the unique simple living and traditional lifestyle are preserved by the old generations who have lived there. The existing traces well indicate ways of living, cultures, traditions, beliefs, economies, and community societies.

        Thai community society is the actual agrarian one which is the core of the existence of the community. In addition, agriculture is the foundation of the country’s economies. Local cultures are beautifully grown by agriculture. Benefits from agriculture do not include only products, but also the emergence of the sibling commercial community. Factual rural development processes must not be shadowed by economically stimulated factors but should emphasize on true values in societies and transferred issues of agrarian society. Buddhist Economics Theory echoes contemporary concepts in Thai culture as it harmonizes with knowledge of a self-sufficient economy. Imparting knowledge to local communities will ensure that they can help themselves achieve a reasonably good quality of life and become acquainted with external changes, thereby strengthening their communities and resulting in economic and environmental restoration.

        If the community could carry on agriculture, such community could possess sustainability. They could be self-dependent without relying on other external factors. As a result, the image of beautiful ways of living and real sustainable community is clearly presented. The appropriate way to manage the tourism system in the community of vernacular shophouses will constitute a guideline for the local communities, as well as government and tourism organization, to engage in an appropriate form of sustainable tourism development for shophouses community in Thailand as a whole.

 

ดวงเงิน ซื่อภักดี
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

        จากการศึกษาสภาพการดำรงอยู่ของเรือนค้าขายพื้นถิ่นในประเทศไทย พบว่า เรือนลักษณะดังกล่าวมีปรากฏทั่วไปทุกจังหวัด มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและความงดงามเชิงสถาปัตยกรรม, วิถีชีวิตและวัฒนธรรมในชุมชนที่สืบทอดกันมาช้านาน เพชรบุรีเป็นอีกพื้นที่ที่ยังคงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายในเรือนและสังคมวัฒนธรรมในชุมชนไว้อย่างสมบูรณ์ สังคมชนบทไทยโดยแก่นแท้คือสังคมเกษตรกรรมอันเป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่ของชุมชน มรดกทางวัฒนธรรมมีชุมชนชนบทที่มีการเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรม เป็นผู้สืบทอด และสานต่อให้ดำรงอยู่ชั่วลูกหลาน เป็นต้นทุนทางการท่องเที่ยวที่หากเสื่อมสลายไปก็ยากจะฟื้นกลับให้ดีเหมือนเก่า การจะดำรงไว้ซึ่งชุมชนและวิถีชีวิตจะต้องเข้าใจและให้คนในชุมชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นอกจากนั้นชุมชนจะต้องมีความเข้มแข็ง การใช้ชีวิตโดยพึ่งพาปัจจัยภายนอกชุมชนเป็นหลัก ทำให้เสียดุลยภาพในการดำเนินชีวิต และนำพาไปสู่การล่มสลายของชุมชนในที่สุด การฟื้นฟูวิถีเกษตรกรรมที่เคยเป็นหลักในการดำรงชีวิตของชาวชนบทมาเนิ่นนาน การหวนกลับสู่วัฒนธรรมการเกษตรที่ใช้หลักพุทธเศรษฐศาสตร์ อันเป็นแนวคิดร่วมสมัยในสังคมไทยที่สอดคล้องกับความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก ส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น เป็นคำตอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน ความงดงามในวิถีชีวิตของชุมชนจะกลับคืนมาและเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวมาชมวัฒนธรรมของชุมชนเรือนค้าขายพื้นถิ่น ทั้งในเพชรบุรีและจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ

Downloads

How to Cite

Suephakdee, D.- ngern. (2016). Shophouses in Phetchaburi: A Community-based Approach to Conservation and Tourism. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 23, 287. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45120

Issue

Section

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation