การประเมินผลการระบายอากาศตามธรรมชาติของบ้าน ประหยัดพลังงานสามหลัง

Authors

  • มาลินี ศรีสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

การระบายอากาศตามธรรมชาติ, บ้านประหยัดพลังงาน, การประเมินผล, Natural Ventilation, Energy Saving House, Evaluation

Abstract

        บทความนี้เป็นการนำเสนอการประเมินผลการระบายอากาศตามธรรมชาติของบ้านประหยัดพลังงานสามหลัง ที่ชนะการประกวดแบบ ซึ่งดำเนินการโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้มีการตรวจสอบประเมินผลในเรื่องการประหยัดพลังงานของบ้านทั้งสามหลัง ในหัวข้อต่างๆ ซึ่งการระบายอากาศตามธรรมชาติเป็นหนึ่งในหัวข้อของการประเมิน โดยในการประเมินผลสำหรับหัวข้อนี้ได้ดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน คือ ศึกษาข้อมูลอากาศในเรื่องคุณลักษณะของกระแสลมของสถานที่ตั้ง ศึกษาปรากฏการณ์การไหลของกระแสลมจากช่องเปิดทางเข้าสู่ช่องเปิดทางออกของบ้านแต่ละหลัง และทำการวัดค่าความเร็วของกระแสลมของห้องต่างๆ ของบ้านแต่ละหลัง จากนั้นได้นำผลมาทำการวิเคราะห์และประเมินผลเพื่อสรุปหาบ้านที่ได้คะแนนสูงสุดในเรื่องการระบายอากาศตามธรรมชาติเรียงตามลำดับ 1, 2 และ 3 ซึ่งบ้านแบบ B ได้คะแนนมากที่สุด บ้านแบบ A ได้คะแนนรองลงมาและบ้านแบบ C ได้คะแนนน้อยสุด

 

The Evaluation of Natural Ventilation in Three Energy Saving Houses

Malinee Srisuwan
Associate Professor, Faculty of Architecture, Silpakorn University

        This article is intend to evaluate the award winning houses given by the Faculty of Architecture, Silpakorn University, for the best utilization of energy conservation. There were the drawings of 3 houseses that won. These houses were constructed, exactly as the awarded drawings. Purposely is to have them demonstrate themselves of there winning value in reality, and in the same environment, which one would be the best. After the construction were completed, a monitoring team was set and given a scope of evaluation on a natural ventilation which is one of the energy saving factors, and the monitoring process was divided into 3 stages: firstly, at the location environment, such as an orientation, meteorological characteristic of wind, secondly, within the house, such as approaching wind velocity and pattern of movement at the entering opening, comparing to the departing opening, lastly, air velocity inside each room in each house. The result of the monitoring is evaluated and summarized and founded that the best is type B and Type A is second and Type C is the third.


Downloads

How to Cite

ศรีสุวรรณ ม. (2016). การประเมินผลการระบายอากาศตามธรรมชาติของบ้าน ประหยัดพลังงานสามหลัง. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 22, 49. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45141

Issue

Section

เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม | Architectural Technology and Innovation