เกลือในกำแพงอิฐ

Authors

  • นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

กำแพงอิฐ, ผนังอิฐ, เกลือในอิฐ, คราบเกลือ, การเสื่อมสภาพของอิฐ, การอนุรักษ์โบราณสถานอิฐ, Bricks, brick walls, salts in brick, efflorescence, brick deterioration, brick conservation

Abstract

        อิฐเป็นวัสดุสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการก่อสร้างกำแพงและผนังอาคารซึ่งถูกน้ำและเกลือทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย น้ำที่ซึมเข้าสู่อิฐมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ความชื้นในอากาศ น้ำใต้ดิน น้ำฝน หรือเป็นน้ำที่ใช้ประกอบในการก่อสร้าง เป็นต้น ส่วนเกลือในอิฐมาจากหลายแหล่งที่มา บางครั้งเกลือก็มาจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตอิฐ จากวัสดุก่อสร้างที่อยู่ติดกับอิฐเช่นปูนก่อหรือปูนฉาบ หรือมาจากสิ่งแวดล้อม ตัวของน้ำเองนอกจากจะทำลายอิฐได้หลายทางแล้ว น้ำยังเป็นตัวการที่นำเกลือเข้าสู่อิฐในรูปของสารละลายเกลืออีกด้วย เมื่อน้ำระเหยไปเกลือก็จะตกผลึกภายในรูเล็กๆ ของเนื้ออิฐนั้น (เรียกผลึกเกลือในรูพรุนนี้ว่า “Crypto-florescence”) หรือตกผลึกเป็นคราบเกลือบนผิวหน้าของอิฐ (ซึ่งเรียกคราบเกลือนี้ว่า “Efflorescence”) ผลึกเกลือในรูเล็กๆ ของเนื้ออิฐนี้เป็นอันตรายต่ออิฐมากกว่าคราบเกลือ เพราะเมื่อเกลือตกผลึกในรูเล็กๆ นั้นปริมาตรของผลึกเกลือที่เพิ่มขึ้นจะมีแรงดันที่ทำให้ผนังของรูเล็กๆ นั้นแตกและทำให้อิฐป่นซุย (Disaggregating และ Crumbling) หรือโป่งพอง (Blistering) แล้วหลุดเป็นแผ่นๆ (Exfoliation) นอกจากนั้นเกลือยังทำให้อิฐด่างแยกชั้นอิฐออกจากกัน ทำให้ขอบอิฐแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และไม่เรียบ ทำให้อิฐระเบิด หรือแม้กระทั่งทำให้ปูนก่อขยายตัวและเสื่อมสภาพ และส่งผลทำให้กำแพงหรือผนังอิฐแตกร้าวเสียหายได้

 

Salts in Brick Walls

Nuanlak Watsantachad, Ph.D.
Lecturer, Faculty of Architecture, Silpakorn University

      Brick, one of the important materials that have been used to construct walls, is susceptible to water and salt attacks. Water enters bricks as moisture in the air, groundwater, rainwater, water used in construction, and so on, while salts come from various sources. Salts sometimes present as original materials in brick or they are derived from adjacent materials, such as mortar or lime dressing, or from the environment. Water itself not only deteriorates bricks in many ways, such as
causing cracks and exfoliation of the bricks, but also transports salts into brick pores as salt solutions, and, after its evaporation, salts crystallise either within the pores—called “crypto-florescence”—or on the surface—called “efflorescence”. Crypto-florescence is more harmful to bricks than efflorescence because when salts crystallise in the pores it exerts forces resulting in either disaggregating and crumbling of thin surface layers of the bricks or lifting them up as the blister of exfoliation sheets. Moreover, depending on their types, salts stain brick’s surface, splits brick’s layers, spall brick’s edges, burst the brick, or even expand and deteriorate brick’s mortar resulting in deforming and cracking of brick walls.

Downloads

How to Cite

วัสสันตชาติ น. (2016). เกลือในกำแพงอิฐ. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 22, 237. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45169

Issue

Section

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation