เรือนพื้นบ้านสมุย

Authors

  • อุปถัมภ์ รัตนสุภา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

เรือนสมุย, Samui house

Abstract

        บทความฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาทางสถาปัตยกรรมบนรอยต่อแห่งวัฒนธรรมและจากการเลือกพื้นที่ศึกษาเกาะสมุยนั่น เนื่องจากเกาะสมุยเป็นพื้นที่ศึกษาที่สามารถมองเห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ กล่าวคือ ความเจริญและความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้คนทั้งชาวเกาะสมุยเองและคนนอกพื้นที่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สําคัญในการสร้างแนวทางที่จะพัฒนาเกาะสมุยว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด หลายคนลืมไปว่าชาวเกาะสมุยมีวัฒนธรรมการดํารงชีวิตที่ค่อนข้างแข็งแรง ซึ่งน่าจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่วิถีชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบใหม่ ผู้ศึกษาใช้สถาปัตยกรรมเป็นเครื่องมือในการศึกษาและทดลองโดยเฉพาะเรือนพื้นบ้านสมุย โดยตัองการที่จะให้เรือนสมุยมีความยั่งยืน ไม่ใช่ในแง่ของการอนุรักษ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคํานึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย ได้แก่  วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของชาวเกาะสมุย ทําให้สถาปัตยกรรมต้องมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนไปได้เช่นกัน เช่น เรือนแถวไม้บริเวณย่านตําบลแม่น้ำ สามารถปรับเปลี่ยนจากเรือนค้าขายเป็นเรือนรับรองนักท่องเที่ยวหรือเป็นร้านค้าที่มีความน่าสนใจประเภท ร้านขายงานศิลปะต่างๆ ทําให้เรือนสมุยสามารถอยู่ได้ การมาท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศในสถานที่ต่างวัฒนธรรมโดยได้ใกล้ชิดและเรียนรู้กับวัฒนธรรมของแต่ละที่ๆ ไป ถือว่าเป็นกําไรชีวิตและประสบการณ์ที่ดีอย่างหนึ่ง

        จากการศึกษาซึ่งเน้นความสําคัญของเรือนพักอาศัยและเรือนค้าขายในย่านพื้นที่ที่มีลักษณะเด่นของการดํารงชีวิตได้พบว่า เรือนพักอาศัยมีการแปรเปลี่ยนในรูปแบบและรูปทรงน้อยสิ่งที่เปลี่ยนคือ วัสดุก่อสร้างซึ่งเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจของเจ้าของเรีอน ส่วนอาคารพาณิชย์พักอาศัยมีลักษณะเฉพาะต่างไปจากเรือนในภาคใต้แหล่งอื่นๆ โดยเน้นลักษณะของการพักอาศัยแบบบ้านเดี่ยวนํามาต่อเนื่องกันมากกว่าเป็นเรือนแถว แนวโน้มในอนาคตของเรือนแถวรูปแบบตัานหน้ายังคงเดิม จุดเปลี่ยนแปลงอาจเกิดได้ในพื้นที่ใช้สอยระหว่างส่วนค้าขายกับส่วนพักอาศัย

 

Samui Vernacular House

        The research is to study the development of architectural patterns and contents on cultural transition. The Samui Island is selected as the case study because it is obviously visualized. Physical changes and changing basic needs of the islander and imigrant people create the fundamental movement in the making of development. Samui vernacular architecture is studied here. To sustain the architecture, not only conservation aspects, but also other factors such as the changing way of life should be considered. Mae-Nam District is an obvious case where wooden shophouses are adapted to grocery stores and still maintain.

        The research emphasizes on the importance of residential and commercial units in the area. A small difference in construction materials used is found, depending on financial status of owners. Mixed-uses commercial-residential building are distinguished from others in southern areas in their pattern. Here, single houses are connected for residential purposed instead of building shophouse. Shophouses tend to be maintained their front appearances while adjustment is made between commercial and residential area.

Downloads

How to Cite

รัตนสุภา อ. (2016). เรือนพื้นบ้านสมุย. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 20, 68. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45474

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment