เรือนค้าขายพื้นถิ่นญี่ปุ่น (มาชิยะ)

Authors

  • ดวงเงิน พูนผล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

เรือนพื้นถิ่นญี่ปุ่น (มินกะ), เรือนค้าขายพื้นถิ่นญี่ปุ่น (มาชิยะ), ระบบ เคน (Ken), Japanese vernacular architecture, Japanese shop house, Japanese measuring system

Abstract

        บทความนี้เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นมาของเรือนพื้นถิ่นญี่ปุ่น ในแง่ของการใช้สอย ที่ว่างและการเชื่อมต่อรูปด้านและองค์ประกอบ โดยศึกษาเรือนค้าขายพื้นถิ่น (มาชิยะ) จากการสํารวจสภาพการดํารงอยู่ในปัจจุบันในเขตที่มีการอนุรักษ์ (พื้นที่ศึกษา ย่านกิออง นครเกียวโต) เริ่มต้นจากการศึกษาความหมายและความเป็นมาของเรือนพื้นถิ่น (Minka) และศึกษาลักษณะเฉพาะในการวัดขนาดของเรือนพื้นถิ่นญี่ปุ่น แล้วนํามาเชื่อมโยงกับลักษณะของเรือนค้าขายพื้นถิ่น

        จากการสํารวจได้ทําการศึกษาองค์ประกอบและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของเรือนค้าขายพื้นถิ่นญี่ปุ่น (มาชิยะ)โดยสังเขป โดยทําการศึกษากรณีศึกษาจากสถานที่จริงของเรือนพื้นถิ่นญี่ปุ่นประเภทเรือนค้าขาย (มาชิยะ) ย่านกิออง (Gion ) มิยากาวา นครเกียวโต ซึ่งดําเนินการในระหว่างที่ผู้เขียนได้รับทุนไปศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น การศึกษาหลักสูตร Architectural Engineering โดยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ณ.กรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่นระหว่าง 2 เมษายน – 15 ธันวาคม 2543

        จากภาคข้อมูลและการสํารวจ ได้ทําการวิเคราะห์ผลที่เกิดกับที่ว่างทางสถาปัตยกรรมภายในที่เชื่อมต่อกับภายนอก รวมทั้งการวิเคราะห์ผลที่เกิดกับที่ว่างทางสถาปัตยกรรมทังภายใน, ภายนอกและการรับรู้ของคน, ศึกษาการใช้สอย, ที่ว่างและการเชื่อมต่อ, ลักษณะที่ว่างภายในและการเชื่อมต่อ, ความงาม, วัสดุ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนค้าขายพื้นถิ่นญี่ปุ่นเพื่อหาคุณลักษณะเฉพาะของที่ว่างของเรือนพื้นถิ่นญี่ปุ่นประเภทเรือนค้าขาย (มาชิยะ)

 

Japanese Shop House (Machiya)

        The article examines the pattern and physical characteristics of Japanese shop houses and architectural details dealing with function, space, connection, elevation and their elements in the specific area (Gion, Kyoto, Japan). The study begins with investigating the meaning and interpretation of Japanese vernacular house, shop house and Japanese measuring system.

        The data collection methods include field surveys, during the author's study of the Architectural Engineering Course at Tokyo, Japan in 2001, incorporated with the study of secondary data and literature reviews related to Vernacular Japanese Architecture.

        The analysis emphasizes the identification of common architectural elements and details. The study result reveals the attitude towards the space of the Japanese shop house in Kyoto, Japan.

Downloads

How to Cite

พูนผล ด. (2016). เรือนค้าขายพื้นถิ่นญี่ปุ่น (มาชิยะ). NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 20, 94. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45488

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment