การศึกษาศิลปกรรมแบบประเพณีในจังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สมใจ นิ่มเล็ก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปรีชา เถาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • จรัญพัฒน์ ภูวนันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

        การวิจัยนี้ มุ่งศึกษาพัฒนาการของศิลปกรรมแบบประเพณีในจังหวัดเพชรบุรี และได้พบว่า งานศิลปกรรมแบบประเพณีมีพัฒนาการสูงสุดในช่วงอยุธยาตอนปลาย พัฒนาการสําคัญที่สุดทางสถาปัตยกรรมอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว ในสมัยรัตนโกสินทร์ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลราวสมัยรัชกาลที่ 4 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีพัฒนาการของสกุลช่างสถาปัตยกรรมตามวัดสําคัญในจังหวัดเพชรบุรี ภาพจิตรกรรมที่สําคัญที่สุดได้แก่ ภาพที่พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม (ประมาณ พ.ศ. 2173-2199) แสดงถึงฝีมือช่างชั้นสูง ส่วนภาพทีวัดเกาะแก้วสุวรรณาราม (พ.ศ. 2277) นั้น แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของช่างเขียนท้องถิ่นในช่วงเวลาดังกล่าว ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ได้เริ่มปรากฏอิทธิพลของเทคนิคแบบตะวันตกขึ้นในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดมหาสมณาราม ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนภาพในพระวิหารวัดมหาธาตุ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น มีอิทธิพลของเทคนิคแบบตะวันตกมากขึ้น และเป็นพัฒนาการที่สําคัญช่วงสุดทาย งานประติมากรรมในจังหวัดเพชรบุรีที่สําคัญที่สุดคือ งานประติมากรรมปูนปั้น ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมแบบประเพณีประเภทเดียวในจังหวัดเพชรบุรี ที่มีพัฒนาการสืบเนื่องตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนกระทังปัจจุบัน


The Study of Traditional Art in Petchburi Province

        The aim of this research is to study the development of the traditional art in Petchburi Province. It is concluded that the peak of its development was evident during late Ayudhya period. In architecture, the most prominent development was witnessed during the period. In Bangkok period, increasing influence of western architecture began to be felt during the fourth reign. While the fifth reign saw the development of indigenous groups of architects at various prominent monasteries. The ordination hall of Wat Yai houses the most important mural paintings (AD. 1630-1650). Later indigenous development is founded in the mural painting at Wat Koh (AD. 1734). During Bangkok period, the integration of the western influence is detected in the mural paintings at Wat Maha Samanaram which was painted during the fourth reign. The last important mural paintings were painted during the sixth reign. They are at WatMahatat. The most important Petchburi sculpture is the stucco relief. It is the only practice in traditional art which indigenous developments can be traced since Ayudhya period to date.

Downloads

How to Cite

ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ส., พยาฆรานนท์ จ., นิ่มเล็ก ส., เถาทอง ป., & ภูวนันท์ จ. (2016). การศึกษาศิลปกรรมแบบประเพณีในจังหวัดเพชรบุรี. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 19, 11. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45662

Issue

Section

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย | History of Architecture and Thai Architecture