โครงการมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด

Authors

  • ตรึงใจ บูรณสมภพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มาลินี ศรีสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปราโมทย์ ธาราศักดิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พันธุดา พุฒิไพโรจน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภัทรพล เวทยสุภรณ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธาริณี รามสูต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

        โครงการศึกษาและออกแบบมหาวิทยาลัยประหยัดพลังงาน โดยใช้สถานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี ซึ่งเป็นวิทยาเขตใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการคือ

          1. เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยตัวอย่างในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสภาพแวดล้อม โดยลดการใช้ยานพาหนะที่ต้องใช้น้ำมัน และก๊าซสําหรับการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ด้วยการจัดผังการใช้ที่ดินและการจัดวางกลุ่มอาคารที่ร่นระยะการสัญจร

          2. ทําการศึกษาและออกแบบภูมิทัศน์ ปรับปรุงสภาพพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย  สามารถลดอุณหภูมิอากาศภายในมหาวิทยาลัย ให้ต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอก

          3. ทําการศึกษาและออกแบบอาคารสาธิตการประหยัดพลังงาน ให้เป็นอาคารตัวอย่างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม

          4. ศึกษาการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและพลังงานหมุนเวียน เช่น การใช้แสงและลมธรรมชาติ การบําบัดน้ำเสียรวมด้วยบ่อผึ่งและนำน้ำที่สะอาดแล้วมาใช้รดต้นไม้ การนําขยะและไบไม้แห้งมาทำปุ๋ย เป็นต้น

        จากการศึกษานี้ เมื่อได้คํานวนเปรียบเทียบด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างการใช้รถยนต์กับจักรยานโดยถือจํานวนนักศึกษากับบุคลากรสูงสุดในอนาคต 10,000 คน ใช้รถยนต์ 2,500 คัน ถ้าใช้จักรยาน 10,000 คัน สามารถประหยัดค่าน้้ำมันได้ 10,950,000 บาท/ปี FIRR 16.32% EIRR 37.45% สามารถคืนทุนได้ภายใน 3.76 ปี และจากการคํานวณการใช้อาคารตลอดทั้งปี สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 50 Kw/ชม./ตร.ม./ปี คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้า 1,440,000 บาท สามารถคืนทุนได้ภายใน 20 ปี


Green & Clean Campus

        A study is mounted to find solutions for minimizing energy consumption within a university campus, and to design its master plan and an energy conservation demonstration building.

        There are four main purposes to the study. First is to use Silpakorn University's Petchburi Campus as a model for an energy concious campus and environmental conservation by studying and designing to the master plan and restricting vehicles to those using gasoline and gas on campus, Second is to study and design the landscape to help reduce temperature around the campus. The third is to make a study and design an energy conservation demonstration building. The use of natural lighting and natural ventilation combined with mechanical means are exposed. Finally, the use of appropriate technology on the campus such as waste water treatment by bio- ponds, recycling water and producing fertilizer from leaves and garbage.

Downloads

How to Cite

บูรณสมภพ ต., ศรีสุวรรณ ม., ธาราศักดิ์ ป., ด่านกิตติกุล ช., ประทานทรัพย์ ฐ., พุฒิไพโรจน์ พ., เวทยสุภรณ์ ภ., & รามสูต ธ. (2016). โครงการมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 19, 115. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45735

Issue

Section

เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม | Architectural Technology and Innovation