Structural Sandwish Panels: อีกทางเลือกหนึ่งของระบบก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน

Authors

  • จรัญพัฒน์ ภูวนันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

        หลักการสําคัญและเป็นไปได้ประการหนึ่ง ที่ช่วยให้บ้านประหยัดพลังงานสามารถก่อสร้างได้ในราคาที่ถูกกว่าบ้านทั่วไป คือ การพัฒนาระบบผนังหรือเปลือกอาคาร (Building Envelope) ทีรวมเอาฉนวนกันความร้อน และโครงสร้างเข้าไว้เป็นองค์ประกอบเตียวกัน

        "Structural Sandwich Panels (SIPs)” เป็นวิธีการก่อสร้างบ้านระบบหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นจากหลักการดังกล่าวนั้น ซึ่งในต่างประเทศได้ทตลองและพิสูจน์ผลการใช้งานมานานไม่น้อยกว่า 60 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันกว้างขวาง แล้วว่าสามารถประหยัดพลังงานได้ดีกว่าการก่อสร้างบ้านด้วยโครงสร้างไม้ขนาดเล็กหรือโครงสร้างเหล็กแฝนชุบสังกะสีขึ้นรูป (Framing Construction) แต่เนื่องจากยังไม่นิยมใช้กันแพร่หลาย มีข้อจํากัดในเรื่องของช่างก่อสร้าง หรือผู้ก่อสร้าง และความคุ้นเคยของผู้ออกแบบ จึงมีผลให้ราคาค่าก่อสร้างบ้านยังคงแพงกว่าการก่อสร้างในระบบเดิม

        การนําระบบการก่อสร้างดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ควรให้ความสําคัญกับวัสดุที่ผลิตได้ในประเทศและความสามารถทนทานต่อสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น รวมทั้งการกันปลวกหรือแมลงให้ได้ด้วย ซึ่งอาจพัฒนาให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของระบบการก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน ที่มีราคาประหยัดได้ในอนาคต


Structural Sandwich Panels : An Alternative Construction System for Energy Housing

        A possible major principle for reducing the construction cost of energy housing is to develop the exteriorwallsystems or building envelopes that combinethermal insulation and building structures all togetheras only one component.

        “Structural Sandwich Panels (SIPs)" is one of the housing construction system developed from this principle. It has been tried out and proven effective in foreign countries for not less than 60 years. At present, the system is more recognized and it can save more energy in dwellings than using wood frame and steel frame construction (framing construction system). Since it is not yet widespread in use, there are limited skilled laborers and builders whilst designers are not familiar with the system, its construction costs are therefore still more expensive than the conventional one.

        The applications of SIPs for Thailand need to give emphasis to materials produced in the country and durability of the whole system that can well withstand to the tropical climate and termiles or wood insects as well. Thus it can be developed as an alternative construction system for economical energy housing in the near future.

Downloads

How to Cite

ภูวนันท์ จ. (2016). Structural Sandwish Panels: อีกทางเลือกหนึ่งของระบบก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 19, 126. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45739

Issue

Section

เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม | Architectural Technology and Innovation