ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกายภาพของเมืองท่องเที่ยวในชนบท : กรณีศึกษาเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Abstract
การวิจัยนี่เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนทัองถิ่นและนักท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมืองท่องเที่ยวในชนบทและศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับทัศนคติข้างต้น เพื่อที่จะนําผลที่ได้มาเป็นพื้นฐานในการคิดหาแนวทางอนุรักษ์ลักษณะท้องถิ่นให้กับเมืองท่องเที่ยวประเภทนี้ โดยเลือกเมืองท่องเที่ยวขนาดเล็กทางตอนเหนือของประเทศไทย คือ เมืองปายในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นกรณีศึกษา
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสําคัญ โดยแบบสอบถามจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนที่หนึ่งจะเป็นการวัดทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงกายภาพเมือง ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกขอให้ให้คะแนนความชอบกับชุดของภาพลายเส้นที่จําลองการเปลี่ยนแปลงกายภาพในเรื่องรูปแบบและความหนาแน่นของอาคารใน บริเวณสําคัญของเมือง ส่วนที่สองจะเป็นการเก็บข้อมูลในเรื่อง ลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามที่อาจจะมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่พวกเขามีต่อการเปลี่ยนแปลงกายภาพเมือง
ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติโดยรวมของประชาชนทัองถิ่นค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกับนักท่องเที่ยวคือ อยากจะเห็นเมืองมีลักษณะทัองถิ่นอยู่ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ประชาชนทัองถิ่นมีแนวโน้มยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่านัก ท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังพบว่า มีปัจจัยหลายๆ ตัวของทั้งประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงกายภาพเมือง ในกรณีของประชาชนท้องถิ่น ปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ฯลฯ ในกรณีของนักท่องเที่ยวปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อายุ ฯลฯ จากผลการวิจัยที่กล่าวข้างต้นทําให้สามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาและอนุรักษ์เมืองได้ว่า เมืองควรจะต้องมีการพัฒนาต่อไปพร้อมๆกับการรักษาลักษณะท้องถิ่น โดยจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่ยอมรับได้ของทั้งประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
Relationship between Attitudes of Local People and Tourists and Physical Changes of a Rural Tourism Town : The Case Study of Pai, Maehongson Province
The study examined the relationships between attitudes of local people and tourists towards the physical changes of a rural tourism town and also factors that may be related to the attitudes in order to propose guidelines for conservation of the local characteristics of the town. A case study was conducted in a small tourism town in the northern part of Thailand, Pai, in Maehongson province.
A questionnaire interview was used to gather data. The questionnaire consisted mainly of 2 parts. The first part measured the attitudes towards the physical changes of the town. Respondents were asked to rate their preference on set of line drawing depicting physical changes in building styles, height, and density, in significant area of the town. The second part collected the respondents personal characteristics that may be related to their preference towards the physical changes.
The data analysis revealed that the overall attitudes towards physical changes of the town were similar in some ways between the local people and the tourists. Both groups preferred to see the local characteristics of the town over changes for more modernized, more dense built-up areas. When examining in more details, it was found that local people, to a certain degree, were susceptible to physical changes than the tourists. In addition, several factors were found to be related to the attitudes towards the physical changes of the town. For local people, these factors were; education, income, etc. For tourists, these factors were ; knowledge about eco-tourism, age, etc. A guideline for development and conservation of parts of the town in order to guide development while conserving local characteristics of town within the acceptable ranges for local people as well as tourists were recommended.