แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ว่างในชุมชนเพื่อให้เกิดการร่วมกลุ่มของผู้อยู่อาศัย: กรณีศึกษาคอนโดมิเนียมราคาประหยัด

Authors

  • มณเฑียร อัตถจรรยา หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2543

Abstract

        วัตถุประสงค์การวิจัยคือ ศึกษาปัจจัยหลักต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการร่วมกลุ่ม เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อม และที่ว่างทางกายภาพ ที่ช่วยเอื้อให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมการรวมกลุ่มกันในที่ว่าง ส่วนกลางของชุมชนมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า สภาพทางกายภาพของพื้นที่ว่างและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการร่วมกลุ่มของผู้อยู่อาศัย โดยการมีจํานวนด้านของสิ่งปิดล้อมพื้นที่ว่างเท่ากับ 3 ด้าน จะเอื้อให้มีพฤติกรรมการร่วมกลุ่มฯ บนพื้นที่ว่างมากกว่าการมีจํานวนด้านของสิ่งปิดล้อมไม่เท่ากับ 3 ด้าน และการมีสัดส่วน ความกว้างของพื้นที่ว่างต่อความสูงสิ่งปิดล้อมฯ อยู่ระหว่าง 1-3 เท่า จะเอื้อให้มีพฤติกรรมการร่วมกลุ่มฯ บนพื้นที่ว่างมากกว่าการมีสัดส่วนความกว้างของพื้นที่ว่างต่อความสูงสิ่งปิดล้อมฯ ไม่อยู่ในระหว่าง 1-3 เท่า และ ปัจจัยทั้ง 2 นี้ มีความสัมพันธ์ร่วมกันต่อพฤติกรรมการร่วมกลุ่มฯ จากผลการศึกษาจึงได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบที่คาดว่าจะเอื้อให้มีพฤติกรรมการร่วมกลุ่มฯ มากขึ้น

 

Urban Open Space Design Guidelines for Residents’ Gathering: A Case Study of Low-IncomeCondominium

        The objectives of this study are to investigate factors related to gathering-to-group behavior of the residences in low-income condominiums and to propose design guidelines for space and environment in low-income condominiums, which develop the gathering-to-group bahavior. The results of the study show that the space and environment, in low-income condominiums, relates to the gathering-to-group bahavior. The space which is three-sided enclosed is more enhancing the gathering-to-group bahavior than the space which is not three-sided enclosed. Moreover, the proportions of the width of space to the height of enclosure which range from one-third to one are more enhancing the gathering-to-group bahavior than the proportions which do not range from one-third to one. Therefore, the design guidelines for the space and environment in low-income condominiums which develop the gathering-to-group bahavior are suggested.

Downloads

How to Cite

อัตถจรรยา ม. (2016). แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ว่างในชุมชนเพื่อให้เกิดการร่วมกลุ่มของผู้อยู่อาศัย: กรณีศึกษาคอนโดมิเนียมราคาประหยัด. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 18, 130. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45828

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning