การศึกษาสภาวะน่าสบาย แบบ field Study ในฤดูหนาวที่กรุงเทพมหานคร

Authors

  • กิจชัย จิตขจรวานิช ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

        จากการสํารวจบุคคล 4 กลุ่ม อันประกอบไปด้วย กลุ่มคนผู้อยู่ในอาคารปรับอากาศ [A/C-indoor], กลุ่มคนผู้อยู่ในอาคารรับลมตามธรรมชาติ [N/V-indoor], กลุ่มคนผู้อยู่นอกอาคารซึ่งออกมาจากอาคารปรับอากาศ [(A/C) outdoor] และกลุ่มคนผู้อยู่นอกอาคารซึ่งออกมาจากอาคารรับลมตามธรรมชาติ [(N/V)-outdoor] โดยทั้งหมดนี้ เป็นการศึกษาสภาวะน่าสบาย ณ บริเวณทางเชื่อมของอาคาร (Transitional Spaces) เช่น โถงอาคาร ทางเดินสัญจร บริเวณ lift lobby และบริเวณหน้าอาคารในที่ร่ม หรือ canopy การศึกษานี้ได้กระทําเมื่อเดือนธันวาคม 2539 และเดือนมกราคม 2540 ซึ่งเป็นฤดูหนาว ในกรุงเทพมหานคร

        รายงานฉบับนี้จะเสนอผล สภาวะน่าสบาย (Thermal Comfort) โดยเรียบเรียงตามลําดับของการตอบรับสภาพอากาศ เป็น 4 ลําดับขั้นตอน อันได้แก่ การคาดหวังกับสภาพอากาศ (Expectation), ความรู้สึกถึงสภาพอากาศในภาวะจริง (Sensation), ความชอบความอยากที่จะอยู่ในสภาวะอากาศ (Preference) และการปรับตัวเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบาย (Adaptation)

        ผลลัพธ์ที่สําคัญ 2 ประการ ที่ได้จากการศึกษา คือ

        ประการแรก อิทธิพลของความคุ้นกับสภาพอากาศที่บุคคลแต่ละกลุ่มอยู่ หรือทํากิจกรรม มีผลอย่างมากต่อผลการตอบรับกับสภาพอากาศของแต่ละกลุ่ม

        ประการที่สอง อุณหภูมิกลาง (Neutral Temperature) ของทุกกลุ่มตัวอย่าง อยู่ที่ 27.1°C. และสภาพอากาศที่ยอมรับได้ (Thermal Acceptability) อยู่ระหว่างอุณหภูมิที่ 25.5°C. และ 31.5°C. ในขณะที่อุณหภูมิที่คาดหวังไว้อยู่ ณ 26.7°C. และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ชอบหรืออยากที่จะอยู่ในสภาพอากาศที่ “เย็นลง” กว่าปัจจุบัน

 

A Field Study of Thermal Comfort in the Cool Season of Bangkok, Thailand

        A field survey of four groups of subjects both indoors (air-conditioned and naturally-ventilated) and outdoors (leaving those indoors) environments was carried out in transitional spaces in a cool season of Bangkok, Thailand. The paper presents the results of the survey compiled and analysed in the following order: Expectation, Sensation, Preference and Adaptation. The data are also compared with the previous research of office environments in Bangkok.

        The results from the analysis show two important aspects. Firstly, thermal responses of each group are influenced by the acclimatised characteristics of their environmental conditions. Secondly, the neutral temperature of the whole sample is 27.1°C and the thermal acceptabiltiy is between 25.5°C and 31.5°C, whereas the expected temperature is 26.7°C and the majority prefer to be in a “cooler” environment.

Downloads

How to Cite

จิตขจรวานิช ก. (2016). การศึกษาสภาวะน่าสบาย แบบ field Study ในฤดูหนาวที่กรุงเทพมหานคร. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 15, 102. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/46164

Issue

Section

ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบสถาปัตยกรรม | Architectural Theory and Design