การศึกษาเพื่ออนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเมืองแม่ฮ่องสอนและบริเวณเกี่ยวเนื่อง

Authors

  • อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชูวิทย์ สุจฉายา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชัยชาญ ถาวรเวช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สมคิด จิระทัศนกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

        จากการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเมืองแม่ฮ่องสอนและบริเวณเกี่ยวเนื่องทั้งในด้านกายภาพ วัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติและเรื่องราวเกี่ยวเนื่องตามกระบวนการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงรายละเอียดในกรณีศึกษาเฉพาะแหล่งพบว่า ลักษณะเดินของเมืองแม่ฮ่องสอนทีควรค่าแก่การอนุรักษ์แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

        ตัวชุมชนเมืองต่าง ๆ ซึ่งยังคงลักษณะของท้องถิ่นอย่างเห็นได้ชัด ในชุมชนเมืองแต่ละแห่ง สามารถสะท้อนภาพของลักษณะพื้นบ้าน ซึ่งเห็นได้จากสภาพแวดล้อมกายภาพของการตั้งถิ่นฐาน การกระจุกตัวของชุมชน ความกว้างของถนนซึ่งสัมพันธ์กับขนาดและกลุ่มของสถาปัตยกรรม ศาสนสถาน ซึ่งสัมพันธ์กับชุมชน สัดส่วนของสถาปัตยกรรมในเมืองซึ่งยังคงคุณลักษณะท้องถิ่น วัสดุและรูปลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรม ซึ่งในบรรยากาศและจินตภาพของเมืองและชุมชนที่ ต่างไปจากชุมชนเมืองอื่น

        ลักษณะโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ซึ่งสวยงามและยังคงความสําคัญของคุณค่าตามธรรมชาติอย่างสูง อันได้แก่ ถ้ำ น้ำตก น้ำพุร้อน และอื่น ๆ

        ชุมชนชนบท ซึ่งยังให้คุณค่าของวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างสูงทั้งในแง่กายภาพ วัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีวัฒนธรรมไต (ไทยใหญ่) เป็นวัฒนธรรมหลัก และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มซึ่งสมควรแก่การอนุรักษ์

        เมื่อเมืองแม่ฮ่องสอนมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายลักษณะ ต่างจากจังหวัดอื่น ๆ และในการวางแผนเพื่อการพัฒนาโดยทั่วไป พื้นที่ทุกระดับจําเป็นต้องมีการพัฒนาตามระบบของการปกครองอย่างครบวงจร ดังนั้นเพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาสามารถเดินควบคู่กันไปได้ จําเป็นต้องพิจารณาค่าน้ำหนักของการพัฒนาที่เน้นการอนุรักษ์ ซึ่งสรุป โดยสังเขปตามกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่เลือกเป็นกรณีศึกษาดังนี้

        ชุมชนเมือง จําเป็นต้องรักษาจินตภาพของเมืองทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมไว้ ดังนั้น การพัฒนาทางกายภาพ จําเป็นต้องจํากัดตัวในขอบเขตตามการศึกษา ดังนี้

        - จํากัดความสูงของอาคารสร้างใหม่ในเมือง

        - จํากัดความกว้างของถนนให้เหมาะสมกับสัดส่วนของอาคาร

        - บังคับการใช้วัสดุก่อสร้างและรูปแบบอาคาร

        - จํากัดขนาดของรถที่จะเข้าในเมือง ไม่ควรให้รถ โดยสารขนาดใหญ่เข้าสู่ตัวเมือง ควรจํากัดที่จอดรถขนาดใหญ่ไว้นอกเมืองตามถนนสายหลักสู่เมือง และถ่ายเข้าสู่ชุม ชนด้วยรถขนาดเล็ก

        - สร้างความเชื่อมโยงจุดสําคัญในเมืองด้วยทางเท้า และจัดภูมิสถาปัตยกรรมที่เข้ากับสภาพแวดล้อมเดิม

        - จัดมาตรการควบคุมความเข้มในการกํากับดูแล พื้นที่ในเมือง ทั้งในแง่การใช้ที่ดิน การก่อสร้างอาคาร และการควบคุมสภาพแวดล้อม

        - สนับสนุนให้ใช้อาคารเดิมในเมืองเพื่อกิจกรรมทางธุรกิจท่องเที่ยว และให้มีหน่วยงานของรัฐเสนอแนะวิธีการปรับปรุงอาคารที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องสร้างอาคารใหม่

        - ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนัก ถึงคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นและคุณค่าของการรักษาจินตภาพเดิมของเมือง

        แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติในเมืองแม่ฮ่องสอน นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีคุณค่าในระดับสูงมากเมื่อเปรียบกับแหล่งอื่น ๆ ในประเทศและบางแห่ง เช่น ถ้ำ หลายแห่งมีคุณค่าสูงเปรียบเทียบได้ในระดับนานาชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีคุณค่ามากมาย และยังไม่ได้มีการสํารวจอย่างเป็นทางการ ผู้ที่ทําการสํารวจคือ คณะสํารวจชาวต่างประเทศ ซึ่งบันทึกข้อมูลเก็บไว้เป็นส่วนตัว ดังนั้นการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้จําเป็นต้องศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างมาก การประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวจําเป็นต้องกระทําอย่างระมัดระวัง ที่จะไม่ทําลายแหล่งท่องเที่ยวโดยรู้เท่าไม่ถึงการ การแบ่งพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ได้แก่

        - พื้นที่ธรรมชาติที่ต้องรักษาสภาพแวดล้อมไว้ให้คงเดิม

        - พื้นที่เพื่อการพัฒนา

        - พื้นที่เพื่อกิจการพิเศษ

        แหล่งท่องเที่ยวที่เสนอมาตรการดังกล่าวแบ่งเป็นกลุ่ม ถ้ำ น้ำตก น้ำพุร้อน และทุ่งบ้วตอง

        แต่อย่างไรก็ตามยังมีพื้นที่หลายแห่งที่ยังไม่ได้สํารวจรายละเอียด ควรปิดไว้ก่อนไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปทําลายสภาพธรรมชาติโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาทิเช่น ถ้ำปางคาม ถ้ำน้ำลาง ถ้ำแม่ละนา เป็นต้น ควรมีการสํารวจรายละเอียดทั้งสภาพแหล่งท่องเที่ยวและสภาพแวดล้อม เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมในการดําเนินการต่อไป

        ชุมชนชนบทที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งได้แก่ หมู่ บ้านต่างๆ ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมและทางกายภาพที่น่าสนใจ ซึ่งมีหลายแห่งและบางแห่งซึ่งเคยเป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะท้องถิ่นสูงมากในอดีต ได้เปลี่ยนแปลงไปจนสภาพเดิมหลงเหลืออยู่น้อยมาก เช่น บ้านปางหมู เป็นต้น ดังนั้น การเสนอมาตรการเพื่อการอนุรักษ์หมู่บ้านในกรณีศึกษา ซึ่งได้แก่ บ้านเมืองปอน อําเภอขุนยวม คณะดําเนินการวิจัยได้เสนอมาตรการ ซึ่งเน้นในการอนุรักษ์มากกว่าการพัฒนา เพื่อให้คงสภาพทางกายภาพและจินตภาพของหมู่บ้านไว้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่

        - เก็บรักษาคุณลักษณะของการวางผังหมู่บ้านเดิมไว้ อันประกอบด้วย

            - การวางผัง

            - ขนาดถนนควรใช้ขนาดเดิม

            - เก็บรักษาคุณลักษณะบ้าน วัสดุ และองค์ ประกอบต่าง ๆ

            - เก็บรักษาศาสนสถานเดิมของหมู่บ้าน

        - ไม่ให้รถขนาดใหญ่เข้าในหมู่บ้าน จัดให้จอดไว้ ปากทางเข้าหมู่บ้าน

        - สิ่งก่อสร้างใหม่ให้คงรูปลักษณะที่ไม่ขัดกับสภาพแวดล้อมเดิม

        - ปรับปรุงแก้ไขอาคารสาธารณะเดิมที่สร้างแล้วให้เหมาะสม

        - ไม่สร้างสิ่งอํานวยความสะดวกใด ๆ แก่นักท่องเที่ยวในเขตบ้านเมืองปอน โดยเฉพาะอาคารขนาดใหญ่และที่พัก สิ่งอํานวยความสะดวก เฉพาะช่วงเวลาให้อยู่ในวัด ในเขตชุมชนได้ เช่น สุขา น้ำดื่ม ถังขยะ ที่นั่งพักผ่อน เป็นต้น

        - ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านรับรู้ถึง ความสําคัญและคุณค่าของหมู่บ้าน

        จากมาตรการการอนุรักษ์และพัฒนาตามที่ได้ศึกษามาจะเห็นได้ว่า ความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว เมืองแม่ฮ่องสอน และบริเวณเกี่ยวเนื่องนี้จําเป็นต้องดําเนินการตามแผนงานที่อาศัยความร่วมมือของหลายฝ่าย อันประกอบด้วย ผู้บริหารของจังหวัดแม่ฮ่องสอน องค์กรบริหารต่างๆ ในหลายระดับ ทั้งระดับจังหวัด อําเภอ และตําบล กรมป่าไม้ สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สํานักผังเมือง กรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรภาคเอกชนต่าง ๆ ที่มีส่วนในการดําเนินการ และที่สําคัญที่สุด คือ ความร่วมมือจากประชาชนของเมืองแม่ฮ่องสอนเองที่จะต้องเข้ามามีส่วนรับรู้ และร่วมมือในการอนุรักษ์การดําเนินงานจึงจะสามารถประสบผลตามแผนงานได้

Downloads

How to Cite

ปาณินท์ อ., สุจฉายา ช., ถาวรเวช ช., & จิระทัศนกุล ส. (2016). การศึกษาเพื่ออนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเมืองแม่ฮ่องสอนและบริเวณเกี่ยวเนื่อง. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 13, 117. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/46666

Issue

Section

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation