เครือญาติเรือนพื้นถิ่นคนสยามในตุมปัต กลันตัน มาเลเซีย

Authors

  • อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

คนสยาม, ตุมปัต, กลันตัน, มาเลเซีย, Orang Siam, Tumpat, Kelantan, Malaysia

Abstract

        “คนสยาม” ในกลันตันคือคนมาเลเซียเชื้อสายไทยที่ตั้งถิ่นฐานมาแต่ดั้งเดิม ในพื้นที่ตอนเหนือของมาเลเซีย และคาดว่าการตั้งถิ่นฐานมีมานานกว่า 600 ปีกลุ่มหนี่ง และเข้ามาภายหลังกลุ่มหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามแน่นอนว่าทั้งสองกลุ่มตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนการปักปันเขตแดนในการทำสัญญาอังกฤษสยามใน คศ.1909 มีคำถามว่า “คนสยาม” มาจากไหนเมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์หลายแนวทางได้ข้อสังเกตว่ามาจากสุโขทัยแนวทางหนึ่ง เป็นกลุ่มดียวกับคนมลายูในกลันตัน แนวทางหนึ่ง และมาจากสงขลา นครศรีธรรมราช และปัตตานี นราธิวาส แนวทางหนึ่ง เมื่อวิเคราะห์ภาษาถิ่นของ “คนสยาม” ผนวกกับการวิเคราะห์วิถีชีวิตและรูปแบบของเรือนพื้นถิ่น เปรียบเทียบกับคนไทยพุทธในภาคใต้ของไทยผนวกกับการศึกษาภูมิปัญญาร่วมต่างๆ ในการดำรงชีวิต สรุปได้แนวทางหนึ่งว่า หากอ่านวิถีชีวิตและเรือนพื้นถิ่นของคนสยามในตุมปัต กลันตัน ผ่านภูมิปัญญาในการดำรงชีพ การทำสวนสมรม ประมง ความเชื่อและศาสนาได้พบว่า มีความคล้ายคลึงกับเรือนพื้นถิ่นสงขลาดั้งเดิมที่เกาะยอ และมีความเหมือนกับเรือนพื้นถิ่นของตากใบ นราธิวาส แต่การสืบค้นแหล่งที่มาของผู้คนผ่านเครือญาติเรือนพื้นถิ่นและวิถีชีวิตนั้น คาดการณ์ได้เฉพาะเรือนที่อายุไม่เกิน 200 ปี เท่านั้น การสืบค้นยาวนานกว่านั้นไม่สามารถสืบค้นผ่านเรือนพื้นถิ่นได้ เพราะอายุเรือนยืนยาวไม่ถึงและไม่มีการจดบันทึกหลักฐาน แต่ก็ยังเป็นคำถามที่น่าค้นคำตอบต่อไป

 

The Kinship of the Vernacular Houses of The Orang Siam in Kelantan Malaysia


Emeritus Professor Ornsiri Panin
Faculty of Architecture,Kasetsart University

        “Orang Siam” in Kelantan are the Thai-Malaysian people who were settled down in Northem Malaysia for more than 600 years ago. There are 2 groups of “Orang Siam”. The first group were settled down around 600 years ago, the other came later but nevertheless not after the Anglo-Siamese Treaty. The originality of “Orang Siam” is always questioned. Whether they came from Sukothai since 600 years ago, are they the same group as the Malaysian people in Kelantan, or Narathevas. With holistic study in local dialect and vernacular houses of the “Orang Siam” in comparison with the Buddhist Thai in Southern Thailand in addition with local wisdom on living, It was found that, the “Orang Siam” vernacular houses and local wisdom on living, fishery, faith, religious and belief are quite familiar with the Songkla vernacular house and are very closed to the Takbai Narathevas house. But the analysis from the vernacular houses kinship can be verified the. Sameness only with the house ages not more than 200 years. Searching beyond, can not read from vernacular houses, which the houses ages didn’t last that long. But the question is still interesting to search for the answer.

Downloads

How to Cite

ปาณินท์ อ. (2016). เครือญาติเรือนพื้นถิ่นคนสยามในตุมปัต กลันตัน มาเลเซีย. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 27, 23. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48172

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment