ระบบเครือญาติและการจัดระเบียบทางสังคมในเรือนยาวของอุษาคเนย์
Keywords:
ระบบเครือญาติ, การจัดระเบียบสังคม, เรือนยาว, อุษาคเนย์, Kinship system, Social organization, Longhouse, Southeast AsiaAbstract
บทความนี้มุ่งอภิปราย “เรือนยาวอุษาคเนย์” ด้วยแนวคิด “ระบบเครือญาติ” ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยและตัวกำหนดที่สำคัญของเรือนพื้นถิ่น โดยใช้เรือนยาวและเรือนหลายครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ และยังคงหลงเหลือหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ในคาบสุมทรและหมู่เกาะ ได้แก่ อิบาน มินังกะเบา ไทดำ บาตักสิมางูลุน บาตักคาโร และลัวะ บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้การจัดวางสังคมเรือนยาวอุษาคเนย์มีความหลากหลายตามปัจจัยสังคมชนเผ่า ระบบเครือญาติ ข้อกำหนดทางเพศ ลำดับศักดิ์และอาวุโส แต่การจัดวางพื้นที่บ้านเรือนกลับมีแบบแผนที่คล้ายคลึงกัน สามารถแบ่งได้เป็นสองแบบ คือ 1) แบบจัดวางพื้นที่ส่วนตัวไว้ด้านเดียวไปตามจำนวนครัวเรือน และมีพื้นที่อีกด้านหนึ่งเป็นโถงยาวร่วมกัน 2) แบบจัดวางพื้นที่ส่วนตัวไว้สองข้างตามจำนวนครัวเรือนและมีพื้นที่ทางเดินกลางร่วมกัน บทความนี้สร้างองค์ความรู้เชื่อมโยงสองศาสตร์ คือ สถาปัตยกรรมและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ผ่านกรณีเรือนยาวอุษาคเนย์ ซึ่งมีแนวโน้มสูญหายไปในกระแสสังคมสมัยใหม่
Kinship System and Social Organization in Southeast Asian Longhouses
Assistant Professor Rawiwan Oranratmanee, Ph.D.
Faculty of Architecture, Chiang Mai University
This paper discusses about Southeast Asian longhouses with the concepts of kinship systems and social organization which are significant factors and determiners of longhouse vernacular patterns. This paper exemplifies the large and existing longhouses in Southeast Asian peninsula and archipelagos including Iban, Minangabau, Black Tai, Simalungun Batak, Karo Batak and Lawa. The analysis pinpoints that, though social organization of longhouse in Southeast Asia is varied by the ethnic groups, kinship patterns as well as rules of gender, hierarchy and seniority, spatial organization appears to be similar including the single-sided arrangement with hall and double sided arrangement. This paper establishes the body of knowledge in anthropology and architecture through the cases of Southeast Asian longhouses that tend to disappear in modernizing world.