แนวคิดและการจัดการภูมิทัศน์สรรค์สร้างบริเวณที่อยู่อาศัยท้องถิ่นไทย กรณีศึกษาริมแม่นํ้าเพชรบุรี
Keywords:
ภูมิทัศน์สรรค์สร้าง, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, บ้าน, Built Landscape, Cultural Landscape, Vernacular architecture, HomeAbstract
การตั้งถิ่นฐานบริเวณที่อยู่อาศัยของคนไทยมีความผูกพันกับระบบสังคมเกษตรกรรมมาแต่เดิม การจัดการพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนบริบททางสังคม และสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน จากการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของตนเองและของพื้นที่ ประกอบกับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นส่งผลให้เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะท้องถิ่นขึ้น การจัดการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ตัวเรือนอันเป็นที่กินอยู่หลับนอน พื้นที่ใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตในแต่ละวันยังต่อเนื่องเชื่อมโยงกับบริเวณบ้าน หรือแม้กระทั่งพื้นที่ส่วนกลางอันเป็นทรัพยากรจากธรรมชาติซึ่งชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เกิดเป็นองค์ประกอบในบ้าน ทั้งที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง เครื่องใช้ไม้สอย และภูมิสถาปัตยกรรมในบริเวณบ้าน ภูมิทัศน์สรรค์สร้างในบริเวณบ้านของคนไทยจึงสะท้อนให้เห็นวิธีคิดของผู้อยู่อาศัย อีกทั้งการตอบสนองต่อบริบทแวดล้อมจนเกิดการจัดการที่เหมาะสมต่อความต้องการของครอบครัว
ในยุคสมัยปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลง ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม และทางวัตถุ จนเกิดความหลากหลายในด้านต่างๆ ย่อมส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการจัดการบริเวณที่อยู่อาศัยไปด้วย ทั้งเรื่องวิธีการจัดการและวิธีคิด แต่การจัดการภูมิทัศน์สรรค์สร้างในบริเวณที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในพื้นที่ศึกษายังคงมีสำนึกและการพยายามอยู่ร่วมกันกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่น มีการเลือกรับปรับเปลี่ยนทั้งวิธีคิด เทคโนโลยี และวิธีการจัดการในบริเวณที่อยู่อาศัย สะท้อนให้เห็นพลวัตรของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี
The Concept and Management of Built Vernacular Landscape in Thai Dwelling House in the Area of Phetchaburi River Basin
Yossapon Poonwattana
Master Degree in Vernacular architecture, Silpakorn University
Associate Professor Vira Inpuntung, Ph.D.
Faculty of Architectural, Silpakorn University
The settlement of the Thai people had relationship with the Agriculture socials for longtime. The process which Leads to the Identity of Local Architecture is the sites management which set on the same social context and environment, by learnt and tried to understand the site environment, and pass on wisdoms to their descendants. Not only to the house but the site’s landscape and the surrounding had arranged to be the functions of “home”, included the Buildings, equipment and landscape (of home area). The Build Landscape of the local people’s home has shown about what dwellers were thinking, and the response between dweller and the environment. That exists as the appropriate solutions of home area’s management for their family.
Nowadays by the developments and changes both social, cultural, and materials. The management process and concept of the Built Environment has to be changes too, from the complexity. But that change’s bases on consciousness of the dwellers by try to live and be humble with the local Environment. And they are the good example of the dynamics of the vernacular architecture on the site study area.