ศักยภาพ และแนวทางการจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมในภาคเหนือ เพื่อเสนอขอรับการจารึกชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก

Authors

  • Kreangkrai Kirdsiri ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นันทวรรณ ม่วงใหญ่ สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุพจน์ จิตสุทธิญาน หลักสูตรนานาชาติ ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

มรดกโลก, มรดกโลกทางวัฒนธรรม, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, บัญชีรายชื่อชั่วคราว, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, World Heritage, World Cultural Heritage, Cultural Landscape, Tentative List, Creative Economy

Abstract

        บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งผลการวิจัยโครงการ เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม” โดยมีเนื้อหาเฉพาะแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในภาคเหนือที่มี “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value (OUV))” อันสมควรได้รับการผลักดัน และการวางกรอบแนวทางการบริหารจัดการเพื่อนำชื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอเป็นแหล่งมรดกโลกในการศึกษานี้ได้เสนอแหล่งที่มีศักยภาพในลักษณะเพื่อนำเสนอเพื่อการประกาศขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลก “แบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination)” เพื่อใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ร่วมกันอันจะยิ่งทำให้ “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV)” นั้นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งได้แบ่งกลุ่มแหล่งมรดกอันทรงคุณค่าที่อยู่ภายในพื้นที่กลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคเหนือตอนบน และโครงการวิจัย “การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม” ออกเป็นกลุ่มตาม “ประเด็นหัวข้อ (Theme)” ตามบริบทแวดล้อมที่สัมพันธ์กัน (Related Context) คือ 1. แหล่งโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีเมืองร่วมวัฒนธรรมล้านนา (Ancient Monuments and Archeological Sites in Historic Towns of Lanna Culture), 2. วัดพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และเส้นทางวัฒนธรรมแห่งล้านนา (Sacred Monasteries and Cultural Routes in Lanna Culture), 3. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมธรรมภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมล้านนา (Sacred Mountains of Lanna Culture), 4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมธรรมและเมืองประวัติศาสตร์ลำปางที่ยังมีพลวัต (Cultural Landscape and Living Heritage Town of Lampang), 5. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งหุบเขาแม่ฮ่องสอน (Cultural Landscape of Mae Hong on Valley)

        โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทยจากแหล่งที่มีศักยภาพทั้งสิ้น 10 แหล่ง เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ผลักดันให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งชั่วคราวเพื่อรอรับการพิจารณา และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และเพื่อนำองค์ค วามรู้ที่ได้จากการวิจัยเพื่อเป็นฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่การจัดทำเอกสารประกอบการตัดสินใจในการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก และการกำหนดแผนการดำเนินการเสนอรายชื่อเพื่อรับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลก รวมทั้งศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากนี้ ยังมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมในฐานะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางสังคม และวัฒนธรรม

 

Competency, Guideline for Cultural Heritage Management and Cultural Landscapes in Northern Thailand as to Be Nominated for World Heritage List


Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D.
Department of Architecture,
Faculty of Architecture, Silpakorn University
Nantawan Muangyai, Ph.D.
Department of Tourism, Faculty of Humanities, Chiangmai University
Supot Jitsuthiyan, Ph.D.
International Program in Architectural Heritage Management and Tourism Faculty of Architecture, Silpakorn University

        This study is a part of “the Study and Analysis of Value, Competency, and Guidelines to Nominate Cultural Heritage Places as World Heritage”, focusing on places which are considered cultural heritage in Northern Thailand and possess outstanding universal value. Management is also considered, then framework for management plan is prepared. This study proposes sites whose competency can be the Serial Nomination World Heritage as they all are in Upper Northern Thailand and share some aspects in common. The research project “Study and Analysis of Value, Competency, and Guidelines for Nomination of Cultural Heritage Sites as World Heritage” categorizes subtopics into themes due to related contexts as follows:
        1. Ancient Monuments and Archeological Sites in Historic Towns of Lanna Culture;
        2. Sacred Monasteries and Cultural Routes in Lanna Culture;
        3. Sacred Mountains of Lanna Culture;
        4. Cultural Landscape and Living Heritage Town of Lampang; and
        5. Cultural Landscape of Mae Hong Son Valley.

        The purposes of the study are to figure out the competency of 10 sites of cultural heritage so as to prepare the strategic plan and nominate them on tentative list and to prepare database for documentation. The proposal is prepared and the coming and possible impacts are studied. In addition, the study is expected to stimulate understanding and realization in conservation and sustainable development of cultural heritage places, promotion of tourism in both natural and cultural aspects, as well as creation of creative economic aspects and added value from social and cultural components as budget.

Downloads

How to Cite

Kirdsiri, K., ม่วงใหญ่ น., & จิตสุทธิญาน ส. (2016). ศักยภาพ และแนวทางการจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมในภาคเหนือ เพื่อเสนอขอรับการจารึกชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 27, 169. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48223

Issue

Section

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation