การเปลี่ยนแปลงในเครื่องใช้ เครื่องจักสานของชาวลาวโซ่ง
Keywords:
เครื่องใช้, เครื่องจักสาน, การปรับเปลี่ยน, วิถีชีวิต, ลาวโซ่ง, Tool, Wickerwork, Adaptation, Lifestyle, Lao SongAbstract
ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ เครื่องใช้เครื่องจักสาน ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งนั้นเป็นสิ่งพิเศษที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่ม เครื่องใช้เครื่องจักสานบางชนิดมีใช้เฉพาะในชาวลาวโซ่งเท่านั้น เช่น กระเหล็บ โฮ่ หรือ ขมุก เป็นต้น การศึกษาเครื่องใช้ของชาวลาวโซ่งนั้นมุ่งศึกษาไปที่เครื่องใช้เครื่องจักสานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั่วไป และเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาข้าวเป็นหลักโดยประการแรก เริ่มจากการศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องช็ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวลาวโซ่ง เช่น ลำดับวิธีการใช้งานที่สัมพันธ์กับขั้นตอนต่างๆ ของการทำนาข้าว ภูมิปัญญาในการใช้ไม้ไผ่และการจักสาน รวมไปถึงวิธีการสร้างและลักษณะเฉพาะของเครื่องใช้ชิ้นสำคัญๆ ของชาวลาวโซ่ง
ต่อมาจึงศึกษา การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต และการปรับตัวในเครื่องใช้เครื่องจักสาน ในด้านต่างๆ ทั้งวิธีการทำนาที่เปลี่ยนแปลงไปจากการทำเพื่อใช้เลี้ยงชีพไปเป็นการทำนาเพื่อปริมาณผลผลิต อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา และโดยทางอ้อมต่อการสร้างสรรค์ เครื่องใช้เครื่องจักสานประเภทอื่น การเปลี่ยนแปลงของระบบสังคม และการศึกษาที่ส่งผลให้ขาดผู้สืบทอดการทำงานหัตถกรรมประเภทนี้ สุดท้ายคือ การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของวัสดุ และการผลิตซึ่งทำให้เกิดการแทนที่เครื่องใช้เครื่องจักสานด้วยเครื่องใช้รูปแบบใหม่ หรือการปรับเปลี่ยนการสร้างสรรค์เครื่องใช้เครื่องจักสานแบบเดิมด้วยวัสดุสมัยใหม่บางส่วน หรือทั้งหมด
จากนั้นจึงเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในด้านของบริบทที่แตกต่างกัน คือ เครื่องใช้เครื่องจักสานในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เพชรบุรี สุพรรณบุรี กับจังหวัดเซินลา และเดียนเบียน ของประเทศเวียดนามซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวโซ่ง โดยยกกรณีศึกษา “กระเหล็บ” ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันทั้งสองบริบท ทำให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณค่าของเครื่องใช้จากวัตถุประสงค์ตั้งต้นสำหรับเพื่อใช้งานความแตกต่างของกริยาอาการในการใช้สอยภูมิประเทศที่มีผลต่อรูปแบบของเครื่องใช้และหน้าที่ทางสังคม ที่ทำให้ “กระเหล็บ” กลายไปเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาวโซ่ง เป็นเครื่องใชที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงออกถึงการมีอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งในบริบทใหญ่ของประเทศไทย
The Relationship of Lifestyle and the changing of Lao Song‘s indigenous tools creation
Adisorn Srisaowanan
Faculty of Architecture, Silpakorn University
The Knowledge of making tools and the wickerwork of Lao Song is the distinguished knowledge to the ethnic identity. Some wicker works merely found in Lao Song group. For example, KA-LEB, HO or KAMOOK. The study of tools and wickerwork is mainly focus to the daily-use tools and the rice farming tools. By study the relationship betweens tools and the Lao Song lifestyle such as ,The Rice farming procedure, wisdom of Bamboo using and the indigenous wickerwork, the making and characters of some important Lao Song’s tools.
Subsequently, to study The changing of lifestyle and The adaptation in tools and wickerwork in diff erent aspects. The changing of attitude in rice farming from the subsistence proposed to the productive propose which directly impact to the rice farming tools and indirectly eff ect to the other types of wickerwork making. The changing of social and education system which cause lack of young generation to hand down this handicraft knowledge. Finally, The changing of material and the new manufacturing system which cause both with The replacement of Lao Song’s tool with new production and the modifi cation of thetraditional wickerwork.
Another study of the changing by 2 diff erent contexts comparison, The study fi eldwork of Nakhon Pathom, Petchaburi, Suphan Buri provinces in Thailand and Son La, Dien Bien provinces in Vietnam. By case study of “KA-LEB” which have a diff erent characters from each context. Visualize the change in value of tool. In Thailand context, the KA-LEB had been developed from the original task of functional tools. Became Social value, and turn to the unique importance of the Lao Song identity. This is proved the existence of Lao Song ethnic in the larger context of Thailand.