ภูมิปัญญาสร้างสรรค์เครื่องมือเครื่องใช้เนื่องในประเพณี พิธีกรรมของชาวลาวโซ่ง
Keywords:
เครื่องใช้, ศิลปหัตถกรรม, ประเพณี, ความเชื่อ, ลาวโซ่ง, Tool, art and craft, tradition, belief, Lao SongAbstract
จากโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท–ลาวในพื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลางของประเทศไทย” ก่อให้เกิดความสนใจ และประเด็นคำถามในการศึกษาถึงภูมิปัญญา และการปรับตัวอยู่ร่วมในสังคมไทยของชาวลาวโซ่งหรือชาวไทดำ อันเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวกลุ่มหนึ่งที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้ได้อย่างเหนียวแน่น หากแต่การต้องดำรงชีวิตอยู่ในบริบท และระบบนิเวศน์ใหม่ สภาพที่แตกต่างนั้นส่งผลกระทบหรือไม่และอย่างไรต่อรูปแบบ และการสร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ บทความนี้เป็นความพยายามเริ่มต้นในการศึกษาทำความเข้าใจวิถีชีวิตและการเป็นอยู่ของชาวลาวโซ่งผ่านมิติของงานศิลปหัตถกรรมที่ชาวลาวโซ่งได้รังสรรค์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมตามงานประเพณีต่างๆ ทั้งจากรากฐานนิเวศวัฒนธรรมดั้งเดิม และจากกลุ่มชาวลาวโซ่งที่ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนของชาวลาวโซ่งในลุ่มนํ้าภาคกลาง ความเชื่อ และความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของกลุ่มชาวลาวโซ่งในพื้นที่ที่ได้ทำการศึกษานั้น ทำให้พบเห็นลักษณะรูปแบบวิถีชีวิตการเป็นอยู่ และรับรู้ได้ถึงการรักษาไว้ ซึ่งประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ที่ยังคงความดั้งเดิมอย่างชัดเจน แม้รูปแบบการปฏิบัติ ตลอดจนรูปลักษณ์ของศิลปหัตถกรรม ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อาจมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างก็ตาม
Lao Song Folk Wisdom and Creativity in Traditional Handicraft for Ceremony and Ritual
Janeyout Loejai
Faculty of Architecture, Silpakorn University
This paper is a part of the research “Holistic Study for the Adaptability in the Diff erent Context of Tai-Lao in the Central Region Basin of Thailand.” A part of this research concerns the lives and transformation of social and cultural characteristics of Lao Song, a Tai-Lao ethnic group who had migrated to Thailand since 1990.
The study focuses on Lao Song’s communities in the Central region of Thailand Phetchaburi Nakhonpathom and Samutsakhon. Within the new social and cultural, as well as topographical conditions, this paper attempts to address the transformation of Lao Song’s lives in Thailand through their arts and crafts which had been used for social, cultural as well as religious purposes. Various tools, as well as arts and crafts are seen as a representation of both their traditionalbeliefs as well as the transformation of their cultures.
While Lao Song’s communities remain tight-knitted social and cultural entities, certain cultural, social and religious characteristics have been infl uenced by Thai culture. Yet, their arts and crafts still retain original characteristics and purposes. Thus, their various tools, as well as arts and crafts are seen as a representation of both their traditional beliefs as well as the transformation of their cultures.